ระบบสำรองไฟในโรงพยาบาล ตอนที่ 2

0

 

 

ฉบับที่แล้วเราพูดถึงภาพรวมของระบบสำรองฟ้าในโรงพยาบาลกันไปแล้ว ฉบับนี้มาเจาะลึกถึงการออกแบบระบบสำรองไฟในโรงพยาบาลกันบ้างซึ่งระบบสำรองไฟหรือ Backup ที่นิยมใช้กันตามโรงพยาบาลต่างๆในปัจจุบัน คือ การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) และ UPS  โดยที่แต่ละรูปแบบก็จะมี ข้อดี – ข้อเสีย ต่างกันไป ซึ่งข้อดีของการใช้
Generator คือ สามารถใช้กับระบบสำรองไฟที่มีขนาดใหญ่ได้ เช่น ใช้สำรองไฟทุกตึกของโรงพยาบาล แต่ข้อเสียของการ backup ด้วยGen ก็คือ จะมีการขาดช่วงของการจ่ายกระแสไฟชั่วขณะ

ส่วนข้อดีของการใช้ UPS backup ก็คือ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดไฟกระพริบหรือไฟดับแต่ UPS ก็จะมีราคาแพงมากเมื่อ load มีขนาดใหญ่หรือต้องจ่ายโหลดเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง ดังนั้นในการเลือกระบบสำรองไฟจึงต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของการจ่ายโหลดด้วยเช่นกัน เนื่องจากโหลดบางประเภทเราไม่จำเป็นต้อง back up ในกรณีที่ไฟดับ

รามาดูวิธีการเลือกใช้ระบบ backup ไฟกันดีกว่าว่าแต่ละแบบ

ดีไซน์เป็นอย่างไรบ้าง
– ระบบ Backup 100%  ระบบนี้จะใช้ Generator เป็นตัว backup ซึ่ง Gen จะจ่ายโหลดให้กับทั้งระบบ ซึ่งระบบนี้ Gen มักจะมีขนาดใหญ่และกำลังในการจ่ายโหลดจะใกล้เคียงหรือเท่ากับขนาดของหม้อแปลง แต่ขณะที่ไฟดับ จะต้องรอ Gen start และรอจนกว่า Gen จะ run ได้รอบ ATS จึงจะ transfer ไปรับไฟฝั่ง Gen ได้ ซึ่งช่วงเวลานี้โหลดบางประเภทจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟตลอดเวลา เราจึงต้องมี UPS backup ให้กับโหลดพวกนี้ด้วย ทำให้ระบบนี้มีราคาค่อนข้างสูง(Single line1)
– อีกระบบหนึ่งราคาจะค่อนข้างถูกกว่าระบบแรก โดยจะ backup เฉพาะโหลดที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ห้องฉุกเฉิน, ห้องผ่าตัด, ห้อง ICU ฯลฯ ระบบนี้จะใช้ gen ขนาดเล็กกว่าระบบแรกและใช้ UPS backup ในช่วงที่ไฟขาดตอนเช่นกัน (Single line2)

นอกจากนี้ อาจจะมีระบบ Bypass UPS ซึ่งใช้ในกรณีที่ UPS เสียหรือมีปัญหา เราอาจจะทำ Bypass ให้โหลดไปรับไฟจากหม้อแปลงหรือ Gen ได้โดยตรงโดยไม่ผ่าน UPS ซึ่งในระบบ Bypass นี้จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Bypass switch ตามsingle line (Single line3)