ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึง การจัดการพลังงาน (Energy Management) ซึ่งในที่นี้ก็คือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบและวางแผนการใช้พลังงานที่เหมาะสม โดยจะต้องมีการศึกษาการใช้พลังงานอย่างถูกวิธี ซึ่งหัวใจของการจัดการพลังงานคือการใช้พลังงานให้น้อยที่สุดแต่บรรลุวัตถุประสงค์ตามความต้องการครบทุกประการ ในปัจจุบันหลายๆ หน่วยงานเริ่มมีความตื่นตัวในเริ่องของการจัดการพลังงานมากขึ้น เนื่องจากการตลาดปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูง และการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดก็เป็นข้อได้เปรียบอีกแบบหนึ่งในแง่ของการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งการจัดการพลังงานที่ดีนั้นทางองค์กรจะต้องมีการออกแบบและวางแผนจัดการพลังงานที่ดีด้วย
ในบทความนี้ ทางเพื่อนวิศวกรขอยกตัวอย่างการออกแบบการจัดการพลังงาน ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการหลายๆ ส่วน เช่น การบริหารคุณภาพพลังงาน(Energy quality control), การรับประกันความแน่นอนของพลังงาน(Warranted energy availability) หรือ การประหยัดพลังงาน(Energy saving) เป็นต้น แต่ส่วนแรกที่เราจะนำมากล่าวถึงใน นิตยสารเพื่อนวิศวกรฉบับนี้คือ การบริหารคุณภาพพลังงาน หรือ Energy quality control มาให้ทุกท่านได้รับทราบกันก่อนนะครับ
การควบคุมคุณภาพของพลังงาน -การวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า -การป้องกันโหลด การรับประกันความแน่นอนของพลังงาน -ควบคุมความแน่นอนของพลังงาน -การเลือกใช้แหล่งพลังงาน การควบคุมการใช้พลังงานน้ำ แก๊ส และ อื่นๆ -อุปกรณ์การควบคุม -การวิเคราะห์ การวิเคราะห์และการควบคุม การรับประกันการจ่ายและการประหยัดพลังงาน ผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมและทางเศษฐกิจ การประหยัดพลังงาน -การปรับพาวเวอร์แฟคเตอร์ -การควบคุมมอเตอร์ การควบคุมการใช้พลังงานและบิลลิ่ง -ใช้พลังงานเมื่อไหร่? -ใช้พลังงานที่ไหน? |
ส่วนของ Energy quality control นั้น การติดตั้งอุปกรณที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพพลังงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า ( EN50160 ซึ่งเป็นมาตราฐานสำหรับคุณภาพไฟฟ้า) และยังช่วยในการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าเพื่อหาวิธีการป้องกันโหลด ซึ่งในหัวข้อของ Energy quality control นี้ เราได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
1.) การวิเคราะห์คุณภาพไฟฟ้า
จากตัวอย่างเป็นการใช้ Power meter เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าของระบบไม่ว่าจะเป็นค่าแรงดันไฟฟ้า, ค่าความถี่ไฟฟ้า, จำนวนครั้งที่เกิดแรงดันไฟฟ้าตก, Harmonic หรือ ดูความผิดเพี้ยนของรูปกราฟในระบบ เป็นต้น ซึ่งจากการเก็บและศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้นี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาและหาวิธีปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าของตัวผู้ใช้ได้ดีที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุด
2.) การป้องกันโหลด
ในส่วนของการป้องกันโหลดเบื้องต้น ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับระบบโหลดจะเกี่ยวข้องกับส่วนของแรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า และความถี่ของระบบที่ผิดเพี้ยนไป เป็นต้น ในการออกแบบป้องกันโหลดในปัจจุบันจะใช้รีเลย์สำหรับตรวจสอบและป้องกันในส่วนของแรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า และตรวจสอบความถี่ ซึ่งทางเพื่อนวิศวกรได้ยกตัวอย่างฟังก์ชั่นการทำงานของรีเลย์แต่ละประเภทที่ใช้เป็นตัวป้องกันโหลดคร่าวๆ ตามตารางดังต่อไปนี้
สำหรับบทความเรื่องการจัดการพลังงานของนิตยสารเพื่อนวิศวกรฉบับนี้ ข้อมูลในส่วนของ Energy quality control ที่ได้แนะนำไปในบทความนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านเพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและนำไปเป็นแนวทางในการปฎิบัติได้ ในฉบับหน้าขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับ Energy saving มาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบเพิ่มเติมอีกนะครับ