มารู้จัก BARCODE ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม 2
BARCODE มีหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้วเราจะคุ้นเคยกับรูปแบบที่เป็นสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง ที่ใช้ตามร้านขายของอุปโภคบริโภคทั่วไป หรือซุปเปอร์มาร์เกต แต่ในความเป็นจริงแล้วรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งมีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะแบ่งตามประเภทของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ ด้านการผลิต หรือด้านธุรกิจขายปลีก ซึ่งรูปแบบสัญลักษณ์นี้อาจจะมีความเหมาะสมเฉพาะอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่แตกต่างกัน อาจจะไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมจะต้องมีรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่แตกต่างกันด้วย แล้วแต่ละรูปแบบสัญลักษณ์เหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมใด แล้วปัจจุบันนี้มีรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่งที่มีใช้อยู่แบบใดบ้าง ติดตามรายละเอียดได้จากบทความนี้เลย
บาร์โค้ดแบบแท่ง
ยูพีซี/อีเอเอ็น (UPC/EAN) ประเภทนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้สำหรับการเก็บเงิน (check out) ยูพีซีเป็นรหัสแท่งที่มีความยาวของรหัสแท่งที่แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเป็นมาตรฐาน ที่ถูกกำหนดใช้ในธุรกิจขายปลีกและธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารเท่านั้น ยูพีซีถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานกับมาตรฐาน
EAN-8 เป็นบาร์โค้ดแบบ EAN ที่เหมาะสมหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ใช้หลักการคล้ายกันกับบาร์โค้ดแบบ EAN-13 แต่จำนวนหลักน้อยกว่า ข้อมูลตัวเลขในสัญลักษณ์บาร์โค้ดแบบ EAN-8 จะบ่งชี้ถึงผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ และเมื่อมีการใช้ EAN-8 มากขึ้นในหลายประเทศ จำนวนของตัวเลขที่นำมาใช้ซึ่งมีจำนวนจำกัดทำให้ไม่เพียงพอกับผู้ใช้จึงหันมา ใช้บาร์โค้ดแบบ EAN-13 แทน
UPC-A (Universal Product Code) พบมากในธุรกิจค้าปลีกทั่วไปของประเทศสหรัฐอเมริกา และ แคนนาดา รหัสบาร์โค้ดที่ใช้เป็นแบบ 12 หลัก หลักที่ 1 เป็นหลักที่ระบุประเภทสินค้า และตัวที่ 12 เป็นหลักที่แสดงตัวเลขที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ด
UPC-E เป็นบาร์โค้ดแบบ UPC ที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก ถูกพัฒนามาจากบาร์โค้ดแบบ UPC-A UPC-E สามารถพิมพ์ออกมาได้ขนาดเล็กมาก ไว้ใช้สำหรับป้ายขนาดเล็กที่ติดบนตัวสินค้า
Interleaved 2 of 5 เป็นรหัสบาร์โค้ดที่ใช้ในระบบรับ-ส่งสินค้า รหัสบาร์โค้ดแบบนี้เหมาะสำหรับพิมพ์ลงบนกระดาษลูกฟูก มักใช้ในโกดังจัดเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ
Code 39 ที่นิยมใช้มากที่สุดในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยทั่วไปแล้วนิยมนำไปใช้งานด้านการจัดการสินค้าคงคลัง หรือการติดตามความเคลื่อนไหวของวัตถุดิบในโรงงานผลิตสินค้า ความยาวของรูปสัญลักษณ์แบบโค้ด 39 นี้ค่อนข้างยาวและอาจจะไม่เหมาะสมหากฉลากสินค้ามีพื้นที่จำกัด
Code 128 เนื่องจากโค้ด 39 เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาโค้ด 128 ขึ้นมาใช้งาน และเหมาะสมกับฉลากสินค้าที่มีพื้นที่จำกัด เพราะรหัสแท่งแบบโค้ด 128 นี้จะกะทัดรัดและดูแน่นกว่าโค้ด 39 โดยทั่วไปแล้วโค้ด 128 นิยมใช้ในอุตสาหกรรม การจัดส่งสินค้าซึ่งมีปัญหาด้านการพิมพ์ฉลาก
บาร์โค้ด 2 มิติ
PDF417 (Portable Data File) เป็นบาร์โค้ด 2 มิติแบบ สิ่งที่ทำให้รหัสแท่งแบบ PDF417 แตกต่างจากรหัสแท่งแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในรหัสแท่ง PDF417 จะเก็บข้อมูลเป็นลักษณะแฟ้มข้อมูลแทนที่จะเป็นข้อมูลตัวเลขอ้างอิง ส่วนมากจะนำไปใช้บนใบขับขี่ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณได้มากมาย เช่นชื่อของคุณ รูปถ่าย บันทึกข้อหาที่คุณเคยฝ่าฝืนกฎจราจร และข้อมูลอื่น ๆ รูปสัญลักษณ์แบบ PDF417 ซึ่งมีขนาดเท่ากับแสตมป์
Data Matrix บาร์โค้ด 2 มิติแบบนี้ ลักษณะบาร์โค้ดมีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขาวดำ ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็ก นิยมใช้เก็บข้อมูลสินค้า เช่น ชื่อสินค้า ราคาสินค้า เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และชื่อเว็บไซต์
การเลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดให้เหมาะสมกับการใช้งานอุตสาหกรรม
– คุณจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้งานในลักษณะและสิ่งแวดล้อมแบบใด?
– คุณจะนำเครื่องอ่านบาร์โค้ดไปใช้ในโรงงานหรือร้านขายของชำ?
– คุณจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดอย่างต่อเนื่องหรือเพียงแค่ครั้งคราว?
– คุณต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่ต้องถือหรือไม่?
– คุณต้องใช้เครื่องสแกนเนอร์เพื่อทำการอ่านรหัสในระยะใกล้หรือไกลจากรูปสัญลักษณ์ของรหัสแท่ง?
– คุณจะนำเครื่องสแกนเนอร์ไปเชื่อมต่อในลักษณะใด?
– คุณจำเป็นต้องนำข้อมูลที่ได้จากการอ่านไปใช้งานทันทีหรือไม่?
โปรดจำไว้ว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเหมาะสม กับการใช้งานประเภทหนึ่ง ๆ อย่าตัดสินใช้ซื้อสแกนเนอร์เพียงเพราะคุณใช้ความรู้สึก เครื่องสแกนเนอร์ที่ราคาถูกอาจจะเหมาะสมกับงานที่ใช้เครื่องสแกนเนอร์เป็นครั้งคราวเท่านั้น และคงไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องใช้สแกนเนอร์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจงตั้งคำถามและพยายามเฟ้นหาคำตอบให้ได้ก่อนการตัดสินใจซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด