ตอน Automotive Robotics แขนกลอัจฉริยะสำหรับการผลิตรถยนต์
ในยุคเริ่มต้นของการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีโรงงานต่าง ๆ เข้ามาตั้งฐานผลิตในเมืองไทยจำนวนมากทำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมขึ้นหลายแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ค่าแรงงานถูก ลดรายจ่ายเนื่องจากภาษีการนำเข้าของสินค้า และวัตถุดิบบางตัว แต่ ณ ปัจจุบันนี้ค่าแรงบ้านเราสูงขึ้นและสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ฯลฯ ในขณะเดียวกันคุณภาพแรงงานไม่ได้มาตรฐาน ขาดความรู้และทักษะจึงทำให้หลายบริษัทได้ย้ายฐาน การผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงงานถูกกว่า และอีกหลายบริษัทที่พยายามปรับตัวเอง โดยมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation Technology) เข้ามาใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ทั้งในเรื่องราคา และคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ ปัจจุบันโรงงานที่ผลิตสินค้าส่งออกหรือส่งให้กับลูกค้าที่เป็น บริษัทของต่างประเทศมักจะประสบปัญหาในเรื่องคุณภาพ มีทั้ง ผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด หรือ ผลิตสินค้าไม่ทันตามกำหนดเวลา อาจเนื่องจากมีการเปลี่ยนรุ่นผลิตภัณฑ์อยู่บ่อยๆ ต้องใช้เวลาในการ Set up ปัจจุบันจึงมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง ได้แก่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เนื่องจากการเปลี่ยนการทำงานสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรม นอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสม่ำเสมอเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งใน Automotive Intelligence center ฉบับนี้จึงขอนำเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ มานำเสนอให้เพื่อนๆ ชาววิศวกรทุกท่านได้ทราบข้อมูลกันนะครับ ซึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนัก หุ่นยนต์ (Robot) ที่ใช้งานในการผลิตจึงเป็นแบบที่เรียกว่า Articulated Arm (Revolute) หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ หุ่นยนต์แบบ 6 แกน (6 Axis) นั่นเอง
รูปลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์เปรียบเทียบกับสรีระของมนุษย์
ข้อดี
ข้อเสีย
การประยุกต์ใช้งาน
หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่าง ๆ ได้ดี เช่นงานเชื่อม Spot Welding, Path Welding ,งานยกของ , งานตัด ,งานทากาว ,งานที่มีการเคลื่อนที่ยาก ๆ เช่น งานพ่นสี งาน sealing ฯลฯ นอกจากตัวหุ่นยนต์ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการผลิตแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องนำมาใช้ร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อที่จะสามารถทำให้หุ่นยนต์นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เรามาดูกันครับว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมีอะไรบ้าง
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการป้องกันอุบัติเหตุในการผลิต และเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร โดยการตรวจจับสิ่งที่ล้ำเข้าไปในพื้นที่กำหนดไว้ เพื่อการผลิตที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
Guard Locking & Door Interlock
เป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยอีกหนึ่งชนิดซึ่งใช้ปิดล็อครั้วล้อม หรือประตูในพื้นที่การผลิตที่ใช้หุ่นยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายเมื่อมีการเข้าไปในพื้นที่การผลิต
Inductive couplers (Remote Sensors)
เป็นอุปกรณ์ที่ส่งผ่านคลื่นสัญญาณไฟฟ้า และสัญญาณดิจิตอลผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณโดยไม่ต้องมีการสัมผัส (non-contact) ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานกับหุ่นยนต์แบบ 6 แกนซึ่งมีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ทำให้ลดปัญหาสายไฟ หรือสายสัญญาชำรุดเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบเครือข่ายไร้สายนี้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณส่งผ่านทางช่องอากาศ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟ หรือสายสัญญาณในพื้นที่ที่ใช้งานหุ่นยนต์ ซึ่งมีความอันตราย และเสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายของสายไฟ สายสัญญาณต่างๆ อีกทั้งยังสามารถส่งสัญญาณได้ไกลหลายกิโลเมตรทำให้สามารถควบคุมการผลิตได้อย่างง่ายดายจากห้องควบคุม
สำหรับพื้นที่ที่ใช้หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อม (Welding robot) อาจมีปัญหาสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับแบบธรรมดา ซึ่งนำมาใช้ในพื้นที่งานเชื่อม จะเกิดความเสียหายได้ง่าย และมีปัญหาสะเก็ดไฟเชื่อม (Slag) ติดกับอุปกรณ์ทำให้ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมอุปกรณ์บ่อยๆ จึงจำเป็นต้องใช้ sensors แบบพิเศษที่ใช้สำหรับงานเชื่อมโดยเฉพาะ ทำให้ทนต่อสะเก็ดไฟ และลดปัญหาต่างๆ ในพื้นที่การเชื่อม ประหยัดเวลาในการเปลี่ยน หรือซ่อมแซมดีมากขึ้น
ใน Automotive Intelligence center ฉบับนี้ผมขอฝากไว้เท่านี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆชาววิศวกรไม่มากก็น้อยครับ ส่วนในฉบับหน้าผมจะหาเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆชาววิศวกรซึ่งเกี่ยวกับแวดวงของอุตสาหกรรมรถยนต์มาให้ติดตามกันใหม่ครับ
simon process from now on over galleria begins tuesday
sex How To Work Stainless Steel Ovens Into Kitchen Design
pornoHow to Dress Like Gwen Stefani