Energy Saving : ประหยัดได้จริง ทำอย่างไร

0

สวัสดีครับ สมาชิกชาวเพื่อนวิศวกรทุกท่าน
——– กลับมาอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายด้วยเรื่องราวที่อินเทรนที่สุดในขณะนี้คือ Energy Saving หรือการประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน ป้องกันน้ำท่วมได้ ฯลฯ ถ้าจะพูดถึง Energy Saving นั้น หลายๆ คนอาจจะคิดถึงการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดผอมหรือหลอดที่ประหยัดพลังงาน เปิดแอร์ 25 องศา หรือติดตั้งไดร์ฟกับมอเตอร์ (Motor Drive, Inverter)จากที่ฟังมาทั้งหมดหรือว่าเคยได้ยินมานั้นค่อนข้างจะคลุมเครือ ทางนิตยสารเพื่อนวิศวกรจึงนำเรื่องราวนี้มาชี้แจงว่า Energy Saving  ที่แท้จริงแล้วคืออะไรเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ประเด็นแรก Energy Saving เป็นกระบวนการไม่ใช่เป็นวิธีทำที่ตายตัวซึ่งกระบวนการ Energy Saving แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. วัดและเก็บข้อมูล
  2. วิเคราะห์
  3. ปฏิบัติเพื่อให้ลดการสิ้นเปลืองให้ตรงจุด
  4. กลับที่ไปที่ข้อ 1 (ทำให้เป็นดีไซน์ ดูดี)

 

เรามาลองดูรายละเอียดแต่ละขั้นตอนกันดีกว่าครับ

  1. วัดและเก็บข้อมูล คือ
    กระบวนการที่ต้องตรวจสอบตนเองว่ามีพฤติกรรมการใช้พลังงานเป็นอย่างไร ซึ่งทำได้โดยการติดตั้งเครื่องมือวัดอย่างเช่น เอ็นเนอร์จี มิเตอร์ (Energy meter) ตามจุดที่ต้องการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถแบ่งแยกพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเป็นสัดส่วนได้ ตัวอย่างคือ สำนักงานออฟฟิศที่ต้องติดตั้งมิเตอร์เพื่อวัดพฤติกรรมการใช้พลังงานของแต่ละชั้นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าชั้นใดใช้พลังงานสิ้นเปลืองกว่า หรือในโรงงานอุตสาหกรรมที่มี 3 ไลน์การผลิตก็อาจจะติดตั้งมิเตอร์แยกเพื่อวัดว่าไลน์ผลิตไหนใช้พลังงานมากกว่าไลน์อื่นๆ
    ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้ เราต้องการเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่องเพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อ24ชั่วโมง(Trend Graph) หรือสัปดาห์ หรือต่อเดือนได้ ไม่ใช่เป็นการเฉลี่ยข้อมูลเพราะอาจมีการสูญหายของข้อมูลที่เก็บได้ (Information Loss) ปัจจุบันนี้มีเครื่องมือวัดที่ทันสมัยอยู่มากมายที่ตัวมิเตอร์ส่งข้อมูลสื่อสาร (Communication) โดยมิเตอร์ย่อยจะส่งข้อมูลผ่านระบบในรูปแบบต่างๆ มาศูนย์ข้อมูลเพื่อทำ Data Logging (ใช้รูปจากโปรชัวร์โลวาโต้ มีเทรนกราฟอยู่ ให้คุณกำพลศักดิ์ชี้รูปให้)วิเคราะห์ คือ การนำข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นมาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พลังงานของแต่ละส่วน โดยวิเคราะห์ทั้ง 2 ประเภท คือ
  • อุปกรณ์ : เมื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ ต้องมีการวิเคราะห์ว่าอุปกรณ์ตัวใดที่ทางสำนักงานหรือโรงงานมีส่วนแบ่งในการใช้พลังงานมากที่สุด ซึ่งจะมีกลุ่มใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

– HVAC(Heating Ventilation Air Conditioning) : คืออุปกรณ์ประเภทที่ใช้สร้างความร้อนและความเย็นสำหรับเครื่องจักรและอาคารสำนักงาน
เช่น ระบบแอร์ ตู้อบในโรงงาน ตู้เย็น เป็นต้น

– Lighting : ระบบแสงสว่างเพื่อการมองเห็นและการให้สัญญาณ

– Motor and Machine : มอเตอร์และเครื่องจักร
ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

– อื่นๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เชื่อม และเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เป็นต้น

โดยพฤติกรรมของการใช้พลังงานแต่ละกลุ่มธุรกิจจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น กลุ่มโรงงานจะหนักไปทางมอเตอร์และเครื่องจักร กลุ่มสำนักงานจะหนักไปทาง Lighting และ HVAC กลุ่ม Data Center จะหนักไปทาง Computer, Server
และ
HVAC ดังนั้น
วิธีการที่จะประหยัดพลังงานของแต่ละกลุ่มธุรกิจก็จะแตกต่างกันไปเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าเราจะใช้วิธีการที่จะประหยัดพลังงานของกลุ่มอุปกรณ์ ที่มีส่วนแบ่งการใช้พลังงานสูงสุด

  • พฤติกรรม : ถ้าจะกล่าวถึงพฤติกรรมนั้นจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าพลังงานและ
    Demand สูงสุดแต่ละช่วงเวลา ซึ่งค่า Demand สูงสุดนั้น
    คือค่าเฉลี่ยของค่ากิโลวัตต์ทุกๆ 15 นาที  เป็นไปตามเรทการคิดค่าทางไฟฟ้า
    โดยจะแตกต่างกัน เช่น การคิดค่าไฟแบบ TOU, TOD, และ Normal
    Rate ซึ่งการคิดค่าไฟฟ้าแต่ละแบบนั้นจะแตกต่างกันที่ช่วงเวลาการคิดค่า
    Peak Demand และ Rate ของค่าไฟในแต่ละช่วงเวลา เช่น
    โรงงานที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ควรจะใช้เรท TOU จะเสียค่าไฟฟ้าน้อยกว่าการคิดค่าไฟฟ้าแบบ
    Normal Rate เป็นต้น  ซึ่งการวิเคราะห์พฤติกรรมจะเป็นการทำงานในลักษณะของการบริหารจัดการ
    การใช้ไฟให้เหมาะสมกับเรทการคิดค่าไฟ
    หรือการเลือกเรทการคิดค่าไฟให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้พลังงาน
  1. ปฏิบัติเพื่อให้ลดการสิ้นเปลืองตรงจุด : หลักการปฎิบัติที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของวิเคราะห์ในกลุ่มธุรกิจแต่ละประเภท
    โดยเลือกส่วนมากจะเลือกปฎิบัติจากวิธีการที่ใช้งบประมาณน้อยที่สุดและให้ผลประหยัดพลังงานมากที่สุดก่อน
    เช่น การปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานของผู้ใช้งาน โดยการปิดไฟ ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม
    เป็นต้น หรือการบริหารพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับเรทการคิดค่าไฟของการไฟฟ้า
    เพื่อทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนค่าไฟให้น้อยลง
    ซึ่งส่วนนี้จะไม่ประหยัดพลังงานแต่เป็นการบริหารจัดการพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย
    วิธีการอีกประเภทหนึ่งคือ การใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้อุปกรณ์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน
    การใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น
    เปลี่ยนไปใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงานหรือหลอด LED , การเลือกใช้มอเตอร์มีประสิทธิภาพสูง
    เป็นต้น / อุปกรณ์ช่วยประหยัดพลังงาน เช่น การติดตั้ง Drive, Inverter กับ Motor การติดตั้งบัลลาธอิเลคทรอนิค
    การติดตั้งโวลท์เทจเรตกูเรเตอร์ เป็นต้น

โบนัส –
การปรับปรุง Power Quality หรือคุณภาพไฟฟ้าสามารถที่จะประหยัดพลังงานได้เช่นกัน เช่น การปรับปรุงเรื่อง Harmonic
, Power Factor เป็นต้น

  1. กลับที่ไปที่ข้อ 1 : แน่นอนว่าเราควรที่จะเห็นผลลัพธ์ของการประหยัดพลังงานในรูปของการประหยัดค่าใช้จ่าย
    และควรจะตรวจเช็คพร้อมทั้งวิเคราะห์เพิ่มเติมว่ามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นจริงหรือไม่อย่างต่อเนื่องและปรับจูนเพื่อให้มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อไป

เพื่อนๆ วิศวกรคงเห็นแล้วว่า Energy
Saving นั้นเป็นกระบวนการจริงๆ ที่เริ่มต้นตั้งแต่การวัด วิเคราะห์ ปฏิบัติ
และติดตาม ปรับปรุง ซึ่งจำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับกลุ่มธุรกิจของท่าน
โดยจะไม่มีวิธีการใดที่ตายตัว
ทางนิตยสารเพื่อนวิศวกรหวังว่าคำอธิบายเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านนะครับ[ad name=”HTML”]