
อนาคตของการผลิตสมัยใหม่ยุค “อุตสาหกรรม” 4.0
หลายๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ Web 3.0 หรือ Web 4.0 ซึ่งเกี่ยวกับยุคของการพัฒนาเว็บไซต์ แต่คงไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ Industrial 4.0 ซึ่ง Industrial 4.0 นั้นเป็นคำที่มีการใช้ครั้งแรกในปี 2011 ที่ Hannover Fair ในประเทศเยอรมัน ซึ่ง Industrial 4.0 เกิดขึ้นจาก
โปรเจคด้านกลยุทธ์ในด้านความไฮเทคของรัฐบาลเยอรมัน ที่ต้องการโปรโมทการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในกระบวนการผลิต ซึ่งหมายถึง Industrial Revolution ครั้งที่ 4 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อนที่จะมาพูดถึง การปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้ เราคงต้อง
ย้อนไปดูแต่ละยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมกันก่อนครับ
Industrial Revolution 1.0
คือยุคการใช้พลังงานจากน้ำ (Hydro Power) แทนการใช้แรงงานคน หรือสัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ ในยุคปี ค.ศ.1800 (พ.ศ. 2343) เป็นยุคที่เริ่มต้นของการ
ปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งมีการใช้พลังงานไอน้ำจากถ่านหินในกลุ่มอุตสาหกรรมทอผ้า
กังหันน้ำที่สร้างพลังงานใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือการใช้ไอน้ำในรถไฟ
หัวจักรไอน้ำ เป็นต้น
Industrial Revolution 2.0
เป็นยุคที่มีการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง การใช้
พลังงานไฟฟ้าในการผลิต โดยนิยมเรียกยุคนี้ว่า ยุคอุตสาหกรรมเหล็กกล้า เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ของ Henry Ford เป็นต้น รวมถึงเป็นยุคแรกๆ ที่มีการใช้
สายพานในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอีกด้วย

Industrial Revolution 3.0
เป็นยุคของการใช้อิเล็กทรอนิกและเทคโนโลยีไอทีในการผลิตโดยอาจจะเรียกว่า
เป็นยุคผสมผสาน (Convergence) ระหว่างเทคโนโลยีกับพลังงานสีเขียว เน้นพลังงานที่ใช้ไม่หมด เช่น พลังงานจากแสงแดด เป็นต้น เป็นยุคที่ PLC หรือ Programmable Logic Controller ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักรแบบ
อเนกประสงค์ได้ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1969
Industrial Revolution 4.0
เป็นยุคการใช้พลังงาน ไซเบอร์-กายภาพ เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของการ
ปฏิวัติอุตสาหกรรมในปัจจุบันและอนาคต คือ สินค้าจะคิดหาแนวทางการผลิต
ของตัวสินค้าเองโดยอิสระ ซึ่งเครื่องจักรและวัตถุดิบจะมีระบบการตรวจจับ ระบบการสื่อสารจะติดอยู่กับตัวสินค้า โดยมีจุดสำคัญคือ ทั้งเครื่องจักรและ
สินค้าสามารถสื่อสารกันเองและควบคุมซึ่งกันและกันได้โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
และไอทีเป็นหัวใจหลักในการควบคุมกระบวนการผลิต
