หลายท่านอาจสงสัยว่า หลังน้ำท่วมเราควรซ่อมแซมหรือทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ดี หากจะทำตามมาตรฐานสากล เราสามารถอ้างอิงมาตรฐาน NEMA (National Electrical Manufacturers Association) ในหัวข้อที่ชื่อว่า “Evaluating Water–Damaged Electrical Equipment” ซึ่งได้ให้รายละเอียดในการปรม ได้แก่
•บันทึกข้อมูลบน Nameplate และข้อมูลแสดงตำแหน่งของมอเตอร์
•ติดป้ายหมายเลขแท่นเครื่องและมอเตอร์ให้มีหมายเลขเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายในการจับคู่และนำมอเตอร์มาวางลงบนตำแหน่งที่ถูกต้อง หลังซ่อมเสร็จ•ทำเครื่องหมายและบันทึกข้อมูลของจุดต่อสาย
•บันทึกข้อมูลการ Coupling และเงื่อนไขของการ Coupling
•รวบรวมชิ้นส่วนสำหรับติดตั้งมอเตอร์ เช่น Mounting Hardware, Coupling and Shim เก็บชิ้นส่วนเหล่านี้ของมอเตอร์แต่ละตัวใ
นถุงพลาสติก ซีลให้เรียบร้อยแล้ว อาจใช้ถุงพลาสติกแบบมีซิปล็อกก็ได้

•ห้ามจ่ายไฟเข้าเด็ดขาด
•ต้องอบไล่ความชื้น และทาน้ำยาแล้วนำมาอบมาใหม่
•ลูกปืน (Bearing) ข้างในมอเตอร์ทุกลูกก็ต้องเปลี่ยนใหม่หมด อย่าเสี่ยงใช้ของเก่า เพราะเศษ หิน ดิน ทราย เข้าไปในลูกปืนจะทำให้ความแม่นยำของลูกปืนลดลงทันที ก่อให้เกิดความเสียหายในเวลาต่อมา
•ส่วน Encoder ด้านหลังมอเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ โอกาสซ่อมได้มีเพียง 10% ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะถ้าน้ำเข้าไปแล้วค่อนข้างจะซ่อมยาก
•เปลี่ยนคอนแทกเตอร์, คาปาซิเตอร์ และรีเลย์ป้องกัน เพื่อความปลอดภัย
•เปลี่ยนสายไฟใหม่ หากสายไฟแตกร้าว บวม
การตรวจสอบการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า
•วัดค่าความเป็นฉนวนระหว่างสาย L-N, L-PE, N-PE โดยการวัดจะต้องเป็นการวัดระหว่างตัวนำกับตัวนำเท่านั้น โดยที่จะต้องปลดสายไฟฟ้าจากสวิทซ์หลักและอุปกรณ์ไฟฟ้า (Load) จะต้องได้ค่าไม่ต่ำกว่า 0.5 เมกกะโอห์ม โดยใช้ระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงทดสอบไม่ต่ำกว่า 500 V เป็นเวลาต่อเนื่องไม่ควรต่ำกว่า 30 วินาที ตามมาตรฐาน IEC 6036
Insulation tester ราคาเท่าไรครับ
มีหลายแบบค่ะ ตัวอย่างของ fluke ราคาประมาณ 22,000 บาท
Comments are closed.