กลับมาพบกันอีกครั้งกับ EF SOCIETY ครับผม วันนี้เราจะพาทุกท่านมาดูวิธีการเลือก Multimeter ว่าควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมและคุ้มค่า ซึ่งเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในงานทดสอบทางไฟฟ้า สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้หลากหลายปริมาณ
การเลือกใช้เครื่องมือวัดสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ การดูว่าอุปกรณ์ที่เราจะเลือกนั้นมีความเหมาะสมกับงามมากน้อยเพียงใดและที่สำคัญคือเรื่องของคุณภาพ วิธีการเลือกใช้ Multimeter มีด้วยกันดังต่อไปนี้
- Measurement Categories หรือ CAT เป็นมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้า มาตรฐานนี้จะแบ่งตามประเภทของการวัด โดยมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดไฟฟ้าจะระบุเป็นแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่เครื่องมือวัดทนได้โดยไม่เกิดความเสียหาย เช่น CAT III 600 V, CAT IV 300 V ประเภทของการวัดมีดังต่อไปนี้
- CAT I (Category I) เป็นการวัดแรงดันไฟฟ้าในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังงานต่ำ เป็นต้น
- CAT II (Category II) เป็นการวัดแรงดันจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, ปลั๊กไฟ เป็นต้น
- CAT III (Category III) เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้าในอาคาร เช่น แผงควบคุมไฟฟ้า, เบรกเกอร์, สายเคเบิ้ล เป็นต้น
- CAT IV (Category IV) เป็นการวัดแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้านอกอาคาร
- TRUE RMS หรือ MEAN หากงานที่ใช้วัดเป็นอุปกรณ์ที่จะเกิดสัญญาณฮาร์มอนิกปะป่นอยู่ เราควรเลือกแบบ TRUE RMS มากกว่าเพราะจะช่วยให้ค่าที่อ่านได้นั้นมีความแม่นยำ แต่ในการใช้งานเราไม่สามารถขาดเดาได้ว่ากระแสที่เราวัดมีสัญญาณฮาร์มอนิกปะป่นอยู่หรือไม่ ทางที่ดีเพื่อให้งานที่วัดได้ออกมาอย่างถูกต้องและแม่นยำที่สุดเราควรเลือกแบบ TRUE RMS จะดีกว่า
- Resolution และ Accuracy ค่าเหล่านี้ถือว่าสำคัญมากในการเลือกใช้เครื่องมือวัด ซึ่งเครื่องมือวัดจะสามารถเชื่อถือค่าได้มากน้อยเพียงใดสามารถดูได้จากค่าเหล่านี้ เช่น ความละเอียดในการอ่านค่า (Resolution), ค่าความแม่นยำ (Accuracy), ค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance) ค่าความแม่นยำต่างๆ ที่ควรทราบได้แก่
- f.s. (full-scale): แสดงค่ามากที่สุดที่สามารถแสดงผลได้
- rdg. (reading value): แสดงค่าจริงที่วัดได้
- dgt. (digit): แสดงค่าความละเอียดในการอ่านค่า
ภาพแสดงค่าความแม่นยำของอุปกรณ์
- ช่วงของค่าการวัดปริมาณไฟฟ้า ควรดูว่ามัลติมิเตอร์ที่เราจะเลือกใช้นั้นมีช่วงของค่าปริมาณไฟฟ้าต่างๆ อยู่ที่เท่าไร เพราะถ้าเรานำอุปกรณ์นั้นไปวัดแล้วค่าเกินจากช่วงที่อุปกรณ์สามารถวัดได้อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์ได้
- จำนวนหลักที่แสดงผล ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบไม่ว่าจะเป็น 4 หลัก, 5 หลัก, หรือแบบที่แสดง 4 1/2, 5 1/2 การที่บอกว่ามีครึ่งหลักต่อท้ายนั้นหมายถึงสามารถทำการปรับย่านที่สูงกว่าได้ วิธีการดูว่าจะเลือกให้แสดงผลจำนวนกี่หลักนั้นให้ดูจากค่าที่เราใช้วัดเป็นประจำ
- ฟังก์ชันการใช้งานและการทดสอบถึงประสิทธิภาพต่างๆ ในท้องตลาดมีหลายแบรนด์ที่ผลิตมัลติมิเตอร์ออกมา เราในฐานะผู้ซื้อเราควรเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงาน มีความแม่นยำ และทนทานต่อการใช้ หากงานที่วัดนั้นต้องการความแม่นยำมากก็ควรเลือกมัลติมิเตอร์ที่มี ฟังก์ชัน low-pass filter ที่ทำหน้าที่ในการกรองความถี่สูงเพื่อให้ค่าที่ได้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น หากงานที่ใช้วัดต้องการเก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อทำการวิเคราะห์ควรเลือกรุ่นที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลลงใน internal memory ได้ Multimeter รุ่น DT4200 ของ HIOKI เป็นหนึ่งในมัลติมิเตอร์ที่มีความสามารถและความแม่นยำได้การวัดสูง
วิดีโอแนะนำคุณสมบัติดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่น DT 4200 ของ HIOKI
นอกจากฟังก์ชันเสริมต่างๆ ที่เราควรดูแล้วนั้น ฟังก์ชันพื้นฐานในการใช้งานเราก็ควรคำนึงด้วยเช่นกัน เช่น การวัดแรงดัน, การวัดกระแส, การวัดความต้านทาน หรือแม้กระทั่งการตรวจเช็คว่าสายไฟนั้นขาดหรือไม่ก็ตาม
วีดีโอแนะนำการใช้งาน Continuity Check Function
เป็นอย่างไรครับกับวิธีการเลือกมัลติมิเตอร์หากอยากให้มัลติมิเตอร์ที่เราเลือกมีความคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปและเหมาะสมกับงานที่ใช้อยู่ อย่าลืมนำวิธีการดูที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นไปใช้กันนะครับ หรือท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการเลือกสามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
วันนี้ EF SOCIETY ขอลาไปก่อน ครั้งหน้าเราจะมีบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์อุตสาหกรรมอะไรมานำเสนอ รอติดตามกันนะครับ วันนี้สวัสดีครับ ^^