สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน ห่างหายกันไปนานหลายเดือนนะคะ กลับมาวันนี้ทางนิตยสาร EF ก็ไม่พลาดที่จะสรรหาสิ่งดีๆมานำเสนอท่านผู้อ่านอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับฉบับนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์หรือ Power Factor Controller ที่เราคุ้นเคยกันนี่เอง เพราะในปัจจุบันหลายๆองค์กรเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับการปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์กันมากขึ้น เนื่องจากการไฟฟ้ามีการคิดค่าปรับเกี่ยวกับค่า Power Factor (PF) ซึ่ง PF Controller เกือบทุกแบรนด์ จะมีฟังก์ชั่นการทำงานที่คล้ายคลึงกันอยู่แล้ว แต่ทางทีมงาน EF ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ PF Controller รุ่นใหม่จากแบรนด์ Lovato ประเทศอิตาลี ที่มีฟังก์ชั่นที่น่าสนใจ จึงเก็บข้อมูลมาฝากแฟนๆ EF กันค่ะ
Power Factor Controller ที่แสนอัจฉริยะ
ก่อนจะเข้าเรื่อง PF Controller ของ Lovato เรามาทำความรู้จักเจ้าตัว PF Controller กันก่อนดีกว่า“Power Factor Controller (PF Controller)” มีหน้าที่ในการควบคุมการตัดต่อคาปาซิเตอร์ให้เหมาะสมกับโหลด โดยวิธีการเลือกคาปาซิเตอร์ ส่วนใหญ่มักจะเลือกที่ 30% ของหม้อแปลงเป็นอย่างต่ำ
PF Controller ตัวใหม่ของ Lovato
จากที่กล่าวมาข้างต้น เรามาดูตัว PF Controller ตัวใหม่ของ Lovato กันบ้างดีกว่า ว่ามีความแตกต่างจากรุ่นเดิมหรือรุ่นทั่วๆไปอย่างไรบ้าง PF Controller ของ Lovato รุ่นใหม่นี้ มีทั้งหมด 8 Step ซึ่งหากต้องการเพิ่มจำนวน Step เราสามารถเพิ่มจำนวน Step โดยการเพิ่มโมดูลRelay output ที่ด้านหลังตัวคอนโทรลได้เลย ซึ่งสามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 16 Step
นอกจากโมดูล Relay output แล้ว เราสามารถเลือกใช้โมดูลอื่นๆได้อีกด้วย โดยโมดูลที่เราสามารถเพิ่มเติมได้มีดังนี้
- Capacitor protection
- Digital and analog inputs and outputs
- Opto-isolated static outputs
- Relay outputs
- Opto-isolated RS232 interface
- Opto-isolated RS485 interface
- Opto-isolated Ethernet interface with Web server function
- Opto-isolated Profibus-DP interface
- GPRS/GSM modem
- Data logging and clock-calendar (RTC).
จะเห็นได้ว่าคอนโทรลตัวนี้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นเชื่อมต่อด้วย RS-485 หรือ Ethernet ที่สามารถเชื่อมกับ Web server ได้ หรือแม้แต่ GPRS/GSM modem ที่สามารถส่งข้อความหรือ E-mail แจ้งเมื่อมีAlarm เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้ชุดคอนโทรลนี้ยังสามารถเชื่อมต่อโดยใช้ Optical port ซึ่งสามารถเสียบโมดูลที่ด้านหน้าชุดคอนโทรลได้เลย โดย Optical module นี้มีให้เลือกใช้ทั้ง USB และ WiFi
ข้อดีของ Optical module
นี้ก็คือความง่ายและความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอนาคตทาง Lovato จะพัฒนา Application ขึ้นมา ให้รองรับการใช้งานผ่าน Tablet หรือ Smartphone ได้อีกด้วย
จุดเด่นอีกจุดหนึ่งของชุดคอนโทรลตัวนี้ก็คือ
การเก็บสถิติการทำงานของ Cap แต่ละลูก โดยตัวคอนโทรลจะเก็บสถิติว่า Cap แต่ละลูกทำงานไปกี่ครั้ง แต่ละครั้งทำงานไปกี่นาที หาก Cap ลูกไหนทำงานบ่อยหรือทำงานนาน ตัวคอนโทรลจะสั่งให้ Cap ตัวอื่นทำงานแทน ซึ่งนับว่าเป็น Feature ที่ดีเลยทีเดียว เพราะ Feature นี้ทำให้เรารู้ว่า Cap ที่เราใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพในการเก็บประจุลดลงหรือไม่ เราสมควรเปลี่ยน Cap ใหม่หรือยัง
เป็นอย่างไรบ้างคะ กับ Feature ของ Power Factor Controller ตัวใหม่นี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจ น่านำใช้งานเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังยืดหยุ่นต่อการใช้งานด้วยเรื่องของการเพิ่มโมดูล หากมีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆเข้ามา ก็สามารถพัฒนาโมดูลเพื่อรองรับเทคโนโลยีนั้นๆได้ ถือว่าเป็น PF Controller ที่ก้าวหน้าตามเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา หากท่านใดเคยใช้งานตัว PF Controller รุ่นใหม่นี้แล้ว
สามารถส่งข้อมูลมาแชร์ประสบการณ์กับทางเพื่อนๆวิศวกรได้นะคะ ฉบับนี้คงต้องลากันไปก่อนแล้ว ฉบับหน้าจะมีอะไรดีๆมาฝาก อย่าลืมติดตามกันนะคะ
หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ Theeralak: 085-1237147
หรือส่ง E-mailมาที่ : [email protected]
video porno gratisHarley Davidson Tee Shirts for Every Occasion