แนะนำโลกด้าน อาชีพของวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด
Electrical & Electronic Engineer Career Advise (Triple E) Intro article
จากประสบการณ์การพูดคุยกับเหล่าวิศวกรมากมาย พบว่าเหล่านักศึกษาวิศวกรทั้งหลายที่กำลังจะเรียนจบหรือเรียนจบแล้วมักจะไม่รู้ว่าการทำงานจริงๆ แล้วในสาขาวิศวกรรมเป็นอย่างไร และหลังจากที่ทำงานจริงๆ แล้วถึงจะรู้ลึกถึงงานที่ตนเองทำ แต่มีก็มีโอกาสน้อยที่จะได้เห็นภาพกว้างหรือภาพรวมของสายอาชีพตนเองในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของการเปลี่ยนงานเพื่อหางานในฝันของตนเอง แต่แท้จริงแล้วหลายๆ ท่านก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่างานในฝันที่แท้จริงแล้วคืออะไร
ทางชมรมเพื่อนวิศวกรจึงได้มีการจัดหน่วยแนะนำอาชีพสำหรับวิศวกรทั้งหลายขึ้น โดยมีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
- เปิดโลกกว้าง เพิ่มความรู้ในสายอาชีพด้านวิศวกรรมให้กับวิศวกรได้ทราบอย่างถ่องแท้
- ช่วยให้วิศวกรค้นพบงานในฝันของตนเอง
- ช่วยองค์กรหาพนักงานที่มีความสามารถที่เหมาะสมและมีแรงจูงใจในการทำงาน
หากต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.engineerfriend.com/find-job หรือ ส่ง e-mail มาขอคำปรึกษาได้ที่ [email protected]
ในฉบับนี้นิตยสารเพื่อนวิศวกรขอแนะนำภาพรวมของสายอาชีพวิศวกรในอุตสาหกรรมให้ทุกท่านได้รับทราบกัน เราสามารถแบ่งอุตสาหกรรมออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 5 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มผู้ผลิตและซัพพลายเชน
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในเชิงการรับเหมาก่อสร้างและงานออกแบบ
กลุ่มผลิตพลังงาน
กลุ่มราชการ รัฐวิสาหกิจ – ด้านคมนาคม ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี
กลุ่มอื่นๆ เฉพาะทาง – เช่น การขุดเจาะพลังงาน เหมืองแร่ ท่าเรือ ฯลฯ
ในฉบับนี้เรามาดูรายละเอียดของกลุ่มแรกในส่วนของผู้ผลิตและซัพพลายเชนที่เป็นกลุ่มรองรับวิศวกรจำนวนมาก ในกลุ่มผู้ผลิตจะประกอบไปด้วย
- โรงงานต่างๆ
- ตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม (Equipment Suppliers)
- ผู้รับเหมางานระบบหรือชื่อที่เรียกกันในวงการว่า System Integrator
- ร้านค้าที่ขายอุปกรณ์ (Trading)
- ผู้รับจ้างผลิตเครื่องจักร (Original Equipment Manufacturer : OEM)
เรามาเริ่มดูส่วนของโรงงาน (Manufacturing)
ในกลุ่มต่อไปเป็นส่วนของตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม
ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งที่สำคัญที่สุดคือประสิทธิภาพของไลน์การผลิตซึ่งต้องมาจากการทำงานของอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ เพราะว่าสิ่งที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมกลัวคือเวลา down time หรือกรณีที่เครื่องจักรหยุดทำงาน ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วจะมาจาก 3 ค่ายคือ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เนื่องด้วยเทคโนโลยีจากผู้ผลิตเหล่านี้ยังคงล้ำหน้ากว่าประเทศในแถบเอเชียเป็นอย่างมาก เช่น จีนและไต้หวัน ในไทยจึงมีตัวแทนจำหน่ายและผู้นำเข้าอุปกรณ์ทางอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างหลากหลายเพื่อที่จะรองรับความต้องการของตลาดนี้
กลุ่มตัวแทนจำหน่ายไม่ได้มีหน้าที่แต่เพียงซื้อขายเท่านั้น ยังต้องมีหน้าที่ในการแนะนำหรือให้คำปรึกษาอุปกรณ์ รวมถึงการดูแลรักษาหลังการขายอีกด้วย (งานออกแบบและติดตั้งจะเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาและ System Integrators ซึ่งเราจะมาดูรายละเอียดกันในฉบับหน้าครับ)
เรามาดูกันว่าวิศวกรที่ทำงานให้กับตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้มีหน้าที่อะไรกันบ้าง
ในฉบับนี้เป็นเพียง 1 ใน 3 ของเนื้อหาทั้งหมดที่เป็นแนวทางอาชีพของวิศวกรในกลุ่มผู้ผลิต ในฉบับหน้าจะมากล่าวถึงกลุ่มผู้รับเหมาระบบหรือ System Integrators และ กลุ่มร้านค้าอุปกรณ์หรือ Trading ในตอนสุดท้ายของบทความนี้จะกล่าวถึงกลุ่มผู้รับจ้างผลิตเครื่องจักรหรือ OEM ซึ่งทางนิตยสารเพื่อนวิศวกรหวังว่าจะเป็นแนวทางในการเลือกสายอาชีพวิศวกรที่ท่านอาจจะคาดไม่ถึงหรือไม่เคยได้ยินมาก่อนก็เป็นได้ครับ