“DIGITAL vs ANALOG METER”
สวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ ในฉบับที่5 นี้เราจะมีคอลัมท์ใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “มิเตอร์ทางไฟฟ้า” โดยเนื้อหาในฉบับนี้ เราจะกล่าวถึงข้อดี-ข้อได้เปรียบของ มิเตอร์ที่แสดงผลแบบตัวเลข (Digital Meter) ที่เหนือชั้นกว่า มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter)
ถ้ากล่าวถึงมิเตอร์วัดไฟที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย หลายๆคนคงจะนึกถึง แอมป์มิเตอร์ โวลท์มิเตอร์ มัลติมิเตอร์ เป็นต้น ซึ่งในที่นี้เราจะแบ่งตามรูปแบบการแสดงผลเป็น 2 ประเภท ได้แก่
มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter)
1 มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter)
2 ดิจิตอลมิเตอร์ (Digital Meter)
โดยในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงข้อดีของดิจิตอลมิเตอร์เมื่อเทียบกับอนาล็อกมิเตอร์ ดังต่อไปนี้
1 ความสะดวกในการอ่านค่า : การอ่านค่าจากดิจิตอลมิเตอร์สามารถอ่านได้สะดวกและง่าย เนื่องจากการแสดงผลนั้นค่าจะออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งต่างจากอนาล็อกมิเตอร์ที่ใช้เข็มในการแสดงผลจึงอาจเกิดความผิดพลาดในการอ่านค่าเนื่องจากการมองหรือการประมาณค่าของแต่ละคนต่างกัน
2 ความแม่นยำ(accuracy) : ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของเครื่องมือวัด ซึ่งดิจิตอลมิเตอร์มากกว่า 90% นั้นมีค่าความแม่นยำที่สูงกว่ามิเตอร์แบบอนาล็อก เนื่องจากดิจิตอลมิเตอร์มีการประมวลผลแบบไมโครโปรเซสเซอร์ ในขณะที่อนาล็อกมิเตอร์นั้นจะใช้หลักการของสนามแม่เหล็กไปขับกลไกทางแมคคานิคที่อยู่ภายในตัวมิเตอร์
3 การติดตั้ง : ดิจิตอลมิเตอร์ ไม่ว่าจะติดตั้งแบบไหน(เอียงซ้าย ตะแคงขวา คว่ำหัว)ก็ไม่มีผลต่อการประมวลผล ในขณะอนาล็อกมิเตอร์ นั้นหากติดตั้งเอียงก็อาจส่งผลให้การประมวลผลเกิดความผิดเพี้ยนได้
4 การสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ : ดิจิตอลมิเตอร์สามารถดูค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ผ่านทางซอฟแวร์ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดเวลา โดยไม่ต้องเดินไปดูที่หน้างาน เช่น หากต้องการเช็คค่าแรงดันว่าปกติหรือไม่ ถ้าใช้ดิจิตอล มิเตอร์ นั้นเพียงคลิกปุ่มที่หน้าจอคอมค่าที่เราต้องการก็จะแสดงขึ้นมา แต่หากเป็นแบบอนาล็อก มิเตอร์ก็มีวิธีเดียวคือ เดินและเดิน…ไปที่หน้างาน
1 การเก็บค่าและการดูข้อมูลย้อนหลัง : ดิจิตอลมิเตอร์บางรุ่นสามารถเก็บค่าพารามิเตอร์ได้ที่ตัวมันเอง ในขณะที่อนาล็อกมิเตอร์ ไม่มีหน่วยความจำที่จะจดจำสิ่งใดใดได้เลย
2 การวัดค่าพารามิเตอร์ : ดิจิตอลมิเตอร์รุ่นใหม่ๆ นั้นสามารถวัดค่าพารามิเตอร์ได้หลากหลายภายในตัวเดียวทำให้ช่วยประหยัดสายไฟในการ wiring ในขณะที่อนาล็อกมิเตอร์ โดยส่วนใหญ่ 1 ตัวก็มักอ่านค่าได้เพียงไม่กี่ค่าหรืออาจอ่านค่าได้เพียงค่าเดียวด้วยซ้ำไป จึงทำให้เปลืองสายไฟในการ wiring และยังทำให้หน้าตู้รก เป็นต้น
3 ฟังก์ชั่นอื่นๆที่มาพร้อมกับดิจิตอลมิเตอร์ : ดิจิตอลมิเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ก็มักจะมี Input/Output Function(I/O) ซึ่งในประเด็นนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความสามารถที่อนาล็อกมิเตอร์ทำไม่ได้ โดยอนาล็อกมิเตอร์นั้นถูกกำหนดให้อ่านค่าได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับคำสั่ง ออกคำสั่ง หรือแจ้งเตือนได้อย่างดิจิตอลมิเตอร์
สำหรับแอปพลิเคชั่นที่เกิดจาก Input Function เช่น การนับจำนวนของสินค้าในสายการผลิต การรับค่าความดันในรูปแบบของ analog input แล้วมาแสดงผลที่หน้าจอของมิเตอร์ เป็นต้น
และแอปพลิเคชั่นที่เกิดจาก Output Function เช่น การส่งสัญญาณไปแสดงไฟ alarm ในกรณีที่ค่าที่อ่านได้เกินลิมิตที่ตั้งไว้ หรืออาจออกคำสั่งเพื่อใช้ในการตัดต่อโหลดโดยผ่านหน้าคอนแทคของคอนแทคเตอร์ เป็นต้น โดยรายละเอียดของแอปพลิเคชั่นของ Input/Output Function นั้นจะกล่าวโดยละเอียดในฉบับต่อไป…..อย่าลืมติดตามกันนะคะ(^_^)
4 การส่งเสริมความทันสมัยและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
จากข้างต้น หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอนาล็อกมิเตอร์จะมีข้อดีอะไรบ้าง อืมม์…ขอใช้ความคิดก่อนน๊า (ติ๊กต็อกๆ )……นึกออกแล้ว สโลแกนของอนาล็อกมิเตอร์คือ “อึดค่ะแต่!!!ไม่ตรง”
ท้ายสุดนี้คนส่วนใหญ่มักถามว่าข้อดีของดิจิตอลมิเตอร์จัดเต็มขนาดนี้…..แล้วราคาละเป็นเช่นไร ตอบง่ายๆเลยค่ะ “ของดีราคาแสนถูกไม่มีในโลก แต่ของดีราคาเหมาะสมนั้น……รอท่านอยู่ค่า…….”