รู้จริงกับ Power Factor Controller

0

power-factor-controller-4

สวัสดีครับ ^^ เพื่อนๆ ชาว EF SOCIETY ทุกท่าน วันนี้เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้ามาฝากกันครับ ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้มีหน้าที่ประมวลผลว่าค่า Power Factor เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ อุปกรณ์นี้ก็คือ Power Factor Controller (PFC) นั้นเอง ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปทำความรู้จักอุปกรณ์ตัวนี้ให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าครับ

Power Factor Controller หรือ PFC เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลว่าค่า Power Factor เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยค่า Power Factor นั้นคือค่าประสิทธิภาพทางไฟฟ้า โดยปกติประสิทธิภาพทางไฟฟ้าที่ดีจะมีค่า kW/kVA เท่ากับ 1 แต่ถ้าหากมีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไปจะทำให้ค่าประสิทธิภาพทางไฟฟ้าลดลง เจ้า PFC จะช่วยสั่งให้ Capacitor Bank ทำงานจ่ายไฟในส่วนที่เกิน โดยปกติแล้วการใช้งานไฟฟ้าในโรงงานมักจะไม่คงที่ ดังนั้นการติดตั้งคาปาซิเตอร์เพื่อปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบควบคุมเพื่อใช้ในการควบคุมการตัดต่อคาปาซิเตอร์ให้เหมาะสมกับโหลด เพื่อเพิ่มคุณภาพของไฟให้ดีขึ้นและไม่โดนปรับค่า PF จากการไฟฟ้า โดยตัวควบคุมตัวนั้นเรียกว่าเพาเวอร์แฟคเตอร์คอนโทรลเลอร์นั้นเองครับ

PFC มีหลักการอย่างไร?
เมื่อติดตั้ง PFC ชุดควบคุมนั้นจะทำการเช็คว่าค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ (Power factor หรือเรียกย่อว่า P.F.) ณ ขณะนั้นมีค่าเท่าไร ถ้าต่ำกว่า 0.85 จะทำการสั่งให้มีการสับ CAP bank เข้าสู่ระบบเพื่อไปชดเชยคุณภาพไฟให้ดีขึ้น หรือให้มากกว่า 0.85

power-factor-controller-1

ภาพแสดงตัวอย่างบิลการไฟฟ้าที่มีค่า PF ที่ต่ำกว่า 0.85 ซึ่งบิลดังกล่าวเสียค่าปรับจากการไฟฟ้า 186,040.26 บาท ซึ่งถ้าทำการปรับปรุงค่า PF เราจะไม่จ่ายค่าปรับให้การไฟฟ้าในส่วนนี้

ประเภทของเพาเวอร์แฟคเตอร์คอนโทรลเลอร์ที่แบ่งตามข้อมูลสินค้าแบรนด์ LOVATO

เพาเวอร์แฟคเตอร์คอนโทรลเลอร์ของแบรนด์ LOVOTO สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งานสินค้า ดังนี้

  1. แบบหน้าจอ 7-segment เป็นหน้าจอ LED หน้าจอแสดงผลจะเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นตัวเลขเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ยากต่อการอ่านค่าและเซ็ตค่าต่างๆ แต่ข้อดีคือราคาค่อยข้างถูก เหมาะกับงานที่มีงบประมาณจำกัด

power-factor-controller-2

 2. หน้าจอแบบ Graphic LCD หน้าจอแสดงผลจะแสดงเป็นคำศัพท์ทำให้การอ่านค่าและการตั้งค่านั้นง่ายและแม่นยำมากขึ้น แต่ราคาค่อบข้างสูงเมื่อเทียบกับ หน้าจอ 7-segment สามารถแสดงค่ากราฟฮาร์โมนิคได้ 31 ออเดอร์ สามารถเซตการแจ้งเตือน เช่น การเตือนอุณหภูมิสูงภายในตู้คอนโทรล โดยรุ่นที่เป็นที่นิยมของทาง LOVATO นั้นมีหลายรุ่น หนึ่งในนั้นได้แก่ DCRG8 และยังสามารถเพิ่มโมดูลเพื่อขยายขีดความสามารถได้ถึง 4 โมดูล ซึ่ง PFC แบบนี้จะนิยมนำไปติดตั้งในโรงงานการผลิตเหล็ก กระเบื้อง หรือโรงงานที่ใช้มอเตอร์จำนวนมากในกระบวนการผลิต เป็นต้น

วิดีโอแนะนำ Power Factor Controller รุ่น DCRG8

ซึ่งโมดูลขยายของรุ่น DCRG8 นั้นมีให้เลือกหลายแบบ แต่ละแบบก็จะมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไป

วิดีโอแนะนำ EXPANSION MODULES ในรุ่น DCRG8

เป็นอย่างไรครับพอจะรู้จักเจ้า PFC มากขึ้นรึยังครับ ^^ ถ้าหากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ วันนี้เราขอลาไปก่อน ครั้งหน้าเราจะมีอะไรดีๆ มาฝากคอยติดตามนะครับ สวัสดีครับ