Panel Meter (พาเนลมิเตอร์) เป็นเครื่องมือวัดประเภทหนึ่งที่ใช้ติดตั้งที่ตู้คอนโทรลหรือบนแผงควบคุมต่างๆ ทำหน้าที่รับสัญญาณอินพุตจากภายนอกมาแสดงผลในรูปของตัวเลข สามารถนำไปใช้แสดงผลการนับจำนวน Digital Counter, ความเร็วรอบ RPM, วัดอัตราการไหล Flow, น้ำหนัก weighing และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการแสดงค่าและรับสัญญาณอินพุตจะขึ้นอยู่กับตัวเซ็นเซอร์หรือ Transducer ที่จะแปลงค่าสัญญาณทางฟิสิกส์มาอยู่ในรูปแบบของสัญญาณมาตรฐาน โดยโครงสร้างพื้นฐานของพาเนลมิเตอร์นั้น มีดังนี้
- ภาคอินพุต Input มีหน้าที่ในการรับสัญญาณไฟฟ้าจะอยู่ในรูปของสัญญาณต่างๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า AC, DC, สัญญาณพัลส์
- ภาคขยายสัญญาณ Amplifier ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณต่างๆ ที่รับมาจากภาคอินพุต เนื่องจากสัญญาณที่รับเข้ามาบางประเภทอาจจะมีขนาดเล็กมากๆ ทำให้ยากต่อการนำไปใช้งาน หรือประมาลผล เช่น สัญญาณจาก Strain Gauge, Thermocouple ซึ่งมีระดับสัญญาณเป็น µV, mV โดยจะนิยมใช้วงจรขยาย Instrument Ampliifier หรือวงจร Differential Amplifier ในการขยายสัญญาณ
- ภาคแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล A/D convertor ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อใช้ในการประมวลผลสัญญาณเนื่องจากตัวประมวลผลสัญญาณ
- ภาคแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก D/A convertor เป็นวงจรที่ทำหน้าที่กลับกันกับภาคแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล A/D convertor โดยจะทำการแปลงสัญญาณที่ได้จากการประมวลผลแล้วเป็นสัญญาณอนาล็อก
- ภาคประมวลผล Processing เป็นหัวใจหลักที่สำคัญมากของตัวมิเตอร์ ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานป้อนเอาไว้
- ภาคแสดงผล Indicator ทำหน้าที่ในการนำค่าที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้อยู่ในรูปของภาษาที่เข้าใจได้โดยง่าย โดยประเภทของหน้าจอแสดงผลที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่เป็น LED และแบบที่เป็น LCD โดยแบบที่เป็น LCD จะต้องมี Back Light ช่วยในการทำงานถึงทำให้สามารถมองเห็นค่า่ได้ในที่มืด
- แหล่งจ่ายไฟ Power Supply ในมิเตอร์นั้นจะมีส่วนที่เป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไฟเลี้ยงวงจรภายในตัวมิเตอร์เองและอีกส่วนเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง AUX, External หรือวงจรไฟเลี้ยงสำหรับอุปกรณ์ภายนอกซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงดัน 5 VDC, 10 VDC, 12VDC หรือ 24VDC จะมีหรือไม่มีก็ได้
- ภาคเอาท์พุต เป็นส่วนที่ใช้ในการส่งสัญญาณที่ได้จากการประมวลผล เพื่อใช้ในการควบคุมหรือนำไปประมวลผลต่อ โดยตัวอย่างของสัญญาณที่ได้นั้น ได้แก่ สัญญาณเป็น Relay ซึ่งจะใช้ในการควบคุม สัญญาณอนาล็อกเอาท์พุต เช่น 0-10VDC, 4-20mA นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเอาท์พุตที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกที่เป็น Computer Software, PLC, DCS, SCADA เช่น RS-485, RS-232, PROFIBUS และอื่นๆ โดยจะมี Protocol ที่ใช้ในการคุยกันระหว่างคอนโทรลเลอร์ เช่น MODBUS, DNP3
ในการใช้งานพาเนลมิเตอร์นั้นสิ่งที่สำคัญคือการตั้งค่าว่าสัญญาณอินพุตและเอาท์พุตนั้นจะเลือกให้เป็นแบบใด หากเราตั้งค่าผิดอาจทำให้ค่าที่ออกมานั้นผิดเพี้ยนได้ ดังนั้น ก่อนการใช้งานควรทำการศึกษาวิธีการตั้งค่าเสียก่อนเพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด
วิดีโอแนะนำวิธีการ Set ค่าเบื้องต้น ของ Panel Meter รุ่น MT4Y ของ AUTONICS
หากท่านใดมีข้อสงสัยวิธีการตั้งค่า Panel Meter สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ เรายินดีตอบทุกคำถามครับผม วันนี้ EF SOCIETY ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีคร้าบบบบบ ^/\^