EF SOCIETY ยินดีต้อนรับ สวัสดีครับบบ ^^ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้พูดถึงประเภทของมัลติมิเตอร์ (Multimeter) พร้อมวิธีการเลือกใช้ว่าเราควรเลือกใช้มัลติมิเตอร์อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน สัปดาห์นี้เราขอนำเสนอวิธีการใช้งาน Multimeter เพื่อนๆ ชาว EF พร้อมรึยังครับ…ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับผม
การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกต้องถูกวิธีนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าหากเราใช้ผิดอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ผู้ใช้และตัวอุปกรณ์ได้ สิ่งแรกก่อนการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดนั้นคือการศึกษารายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ ของอุปกรณ์ว่าแต่ละส่วนประกอบนั้นใช้ทำอะไร
ภาพอธิบายส่วนประกอบของดิจิตอลมัลติมิเตอร์ของ KEYSIGHT
ควรรู้ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บนมัลติมิเตอร์ เพื่อเวลาเราใช้งานจะได้กดเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
ภาพแสดงความหมายที่อยู่บน Function Switch ของ Digital Multimeter
มัลติมิเตอร์เกือบทุกรุ่นที่อยู่ทั่วไปตามท้องตลาดจะมี Rotary Switch หรือ Function Switch ซึ่งตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการใช้งานมัลติมิเตอร์ ในการวัดค่าต่างๆ แต่ละครั้งต้องหมุน Rotary Switch ไปให้ตรงกับตำแหน่งที่เราต้องการวัด การใช้ Test Leads ก็สำคัญมากทุกครั้งที่ทำการวัดควรตรวจสอบก่อนเสมอมาเสียบและวัดตรงกับขั้วรึเปล่า ซึ่งสายสีแดงจะอยู่ทางขั้วบวก (+) สีดำจะอยู่ทางขั้วลบ (-)
ตัวอย่างการใช้งาน ถ้าต้องการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ให้หมุน Rotary Switch ไปที่ตำแหน่ง แล้วนำ Test Leads ไปวัดตรงจุดที่ต้องการ โดยสิ่งที่ควรคำนึงคือการนำ Test Leads เสียบให้ถูกต้องแล้ววัดให้ถูกขั้ว สีแดงจะอยู่ทางขั้วบวก (+) สีดำจะอยู่ทางขั้วลบ (-)
ภาพแสดงวิธีการวัดแรงดันไฟฟ้าด้วยดิจิตอลมัลติมิเตอร์
ดิจิตอลมัลติมิเตอร์สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าทั้งกระแสตรงและกระแสสลับได้ โดยก่อนทำการวัดเราต้องทราบก่อนว่าบริเวณที่วัดนั้นเป็นไฟแบบใด แต่ในบางกรณีหากเราไม่ทราบว่าเป็นไฟกระแสตรงหรือกระแสสลับ Digital Multimeter ของ HIOKI นั้นได้ออกแบบให้สามารถวัดได้โดยที่เราไม่ต้องรู้ว่าบริเวณนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับโดยเพียงแค่หมุน Rotary Switch ไปที่ แล้วทำการวัดค่า
วีดีโอแนะนำการใช้งาน Voltage Measurement Function
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาออกแบบมัลติมิเตอร์ให้สามารถป้องกันการเสียบ prode ผิด ซึ่ง Digital Multimeter ของ HIOKI ได้ออกแบบ terminal shutters เพื่อป้องกันการเสียบ prode ผิดช่องได้
ภาพแสดงการทำงานของ terminal shutters จาก HIOKI
prode ที่ใช้กับดิจิตอลมัลติมิเตอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะและความเหมาะสมในการใช้งาน เช่น prode แบบ BUS BAR CLIP จะเหมาะกับการนำไปใช้วัดกระแสสูงๆ probe ที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัย IEC 61010-031 จะมีความยาวของโลหะที่สัมผัสอยู่ที่ 19 มิลลิเมตร แต่เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นได้มีมาตรฐานความปลอดภัย CAT III และ CAT IV จะมีความยาวของโลหะที่สัมผัสอยู่ที่ 4 มิลลิเมตรหรือน้อยกว่านั้นจึงช่วยป้องกันการเกิดการลัดวงจรได้มากยิ่งขึ้น
ถ้างานที่ต้องใช้วัดมีกระแสสูงและพื้นที่ในการวัดไม่เหมาะแก่การนำ prode แบบ BUS BAR CLIP ไปวัดได้ การนำ Clamp sensor มาใช้วัดก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้การใช้งานนั้นสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถที่จะนำ Clamp sensor มาต่อเข้ากับดิจิตอลมัลติมิเตอร์โดยใช้คู่กับ conversion adapter
ภาพแสดงการใช้งาน Clamp sensor กับ Digital Multimeter
Digital Multimeter รุ่น DT4256 ของ HIOKI ก็เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่สามารถต่อเข้ากับตัว Clamp sensor ได้ และนอกจากนั้นมัลติมิเตอร์รุ่นนี้ยังมีความสามารถอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น Low-pass filter function ซึ่งมีหน้าที่ในการกรองความถี่ที่สูง เพื่อให้ค่าที่ได้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น, Voltage detection function สามารถตรวจสอบได้ว่าบริเวณนั้นมีแรงดันไฟฟ้าอยู่หรือไม่โดยที่ไม่ต้องสัมผัสสายไฟ, AC/DC voltage automatic detection สามารถตรวจสอบได้ว่าบริเวณนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับ
วิดีโอแนะนำคุณสมบัติดิจิตอลมัลติมิเตอร์รุ่น DT 4256 ของ HIOKI
เป็นอย่างไรบ้างครับ Digital Multimeter ในปัจจุบันนี้ได้ถูกออกแบบและพัฒนาให้มีคุณสมบัติและความสามารถหลากหลายกว่าเมื่อก่อนมากเพราะผู้ผลิตต้องการผลิตสินค้าออกมาให้ตอบสนองต่อการใช้งานของลูกค้ามากที่สุด ผู้ใช้อย่างเราๆ นั้นก็อยากที่จะได้สินค้าที่ตอบสนองต่อการใช้งานและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สินค้าในท้องตลาดนั้นมีมากมาย หากท่านใดต้องการปรึกษาในการเลือกซื้อหรือต้องการสอบถามเรื่องทางด้านเทคนิคสามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับเรายินดีให้คำปรึกษา
วันนี้ทีมงาน EF SOCIETY ขอลาพี่ๆ เพื่อนๆ ชาว EF ทุกท่านไปก่อน แล้วกลับมาพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า ขอบคุณที่ติดตามนะครับ ^^ วันนี้สวัสดีครับ