ในชีวิตจริงของท่านผู้อ่านคงจะเคยเจอคำว่า “ผู้ซื้อไม่ได้ใช้ ผู้ใข้ไม่ได้ซื้อ” ยกตัวอย่างง่ายๆ ใกล้ตัวคนวัยทำงานก็จะเป็นพวกเครื่องใช้ในสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องเขียน ที่ทางฝ่ายจัดซื้อเป็นผู้หาซื้อให้ ส่วนพนักงานบริษัทก็ต้องรับมาใช้กัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็อุปกรณ์เครื่องเขียนที่ใช้ได้ทั่วไปแต่ไม่ได้ถูกใจผู้ใข้เท่าไหร่ สุดท้ายพนักงานก็ต่างหาอุปกรณ์เครื่องเขียนที่อยากได้ ดีไซน์สวยๆ เก๋ๆ น่ารักๆ เอาไว้ใช้กันเอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของพวกเหล่าช่างและวิศวกรที่ทำการรับเหมาประกอบตู้ไฟฟ้าคอนโทรล ติดตั้งระบบไฟฟ้า หรืองานต่างๆ ในวงการอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้เป็นผู้ซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบและติดตั้งเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์ คือ Crimping tools ต่างๆ สายไฟฟ้า หางปลา เฟอร์รู คอนเน็คเตอร์ ปลั๊ก เทอร์มินอล ฯลฯ หรือแม้แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัด ปอก ย้ำหัว ขัน เจาะ ฯลฯ ก็อาจจะไม่ถูกใจผู้ใช้งานซักเท่าไหร่ เพราะใช้งานยาก และอาจส่งผลให้ร่างกายเมื่อยล้าจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็นได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น EF SOCIETY จะมาแนะนำกันครับ
การทำโปรเจคๆ หนึ่งนั้นจะมีผู้จัดทำค่าใช้จ่ายโปรเจค โดยทางจัดซื้อจะพยายามทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำสุดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ทางจัดซื้อคิดว่าไม่ได้มีความจำเป็นต้องเลือกที่มีคุณภาพสูงก็สามารถใช้ได้ โดยหารู้ไม่ว่าการลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้กับอุปกรณ์จะเกิดปัญหาขึ้นได้ในภายหลัง อุปกรณ์ติดตั้งต่างๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อสายจะทำให้เกิด arc หรือความร้อนขึ้นหากต่อสายไม่ดีหรือถ้าเป็นสายสัญญาญอาจจะทำให้เกิดระบบ “ผีสิง” ขึ้นมาได้ (ระบบผีสิงคือ บางวันระบบก็ทำงานดี แต่อยู่ดีๆ ระบบก็มีปัญหา พอมาเคาะเขย่าหน่อยปัญหาที่เกิดขึ้นก็หายไป วนเวียนอยู่เช่นนี้) อีกทั้งในเรื่องความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในความสำคัญของอุปกรณ์เหล่านี้ แม้แต่ผู้ที่ได้รับอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้ก็ตาม เพราะไม่มีผู้นำเสนอว่าทำไมต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความคงทน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการรับประกันอุปกรณ์จะอยู่ที่ 1 ปี ซึ่งอาการเสียส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจากเกินระยะประกันของอุปกรณ์แล้ว ดังนั้น EF SOCIETY จะขอแนะนำหลักการและวิธีการเลือกอุปกรณ์เหล่านี้ซึ่งอาจจะไม่ได้เลือกง่ายๆ อย่างที่หลายท่านคาดไว้ก็เป็นได้
- Crimping tools หรือหางปลาที่ดีต้องเป็นคอปเปอร์ 99.9 เปอร์เซ็นต์ จะป้องกันกระแสไฟตกคร่อมที่ขั้วต่อสาย ให้กระแสไฟไหลผ่านได้ดีจึงไม่เกิดความร้อนสะสมที่ขั้วต่อได้ ฉนวนต้องทำจาก ไนล่อน (โพลีเอไมด์) เมื่อย้ำสายแล้ว ฉนวนจะไม่เกิดกรอบแตก และเมื่อมีการ arc ฉนวนจะไม่ลามไฟ เนื่องจากทนอุณหภูมิได้สูงกว่า
- Cable glands เคเบิลแกรนด์ที่ดี แบบพลาสติก ต้องผลิตจากโพลีเอไมด์ 6 ทนอุณหภูมิสูง ได้มาตรฐานการลุกลามไฟ ยางรัดสายไฟผลิตจาก NBR Nitrile รัดสายไฟได้แน่น ได้มาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่น ที่ระดับ IP68 เกลียวมีให้เลือกทั้งเกลียว PG และเกลียว Metric สามารถเลือกใส่กับอุปกรณ์ที่มีเกลียวในได้ทั้ง 2 แบบ แบบโลหะ ต้องผลิตจากทองเหลืองชุบนิเกิ้ล ไม่ใช่เหล็กซึ่งไม่ก่อให้เกิดสนิม ทนอุณหภูมิสูง ได้มาตรฐานการกันกันฝุ่น ที่ระดับ IP68
- Terminal เทอร์มินอลที่ดี ต้องทำจากพลาสติกเกรดดี ทนอุณหภูมิสูง ไม่ลุกลามไฟ และ Conductor Bar ต้องทำด้วยCopper Alloy ตัวรัดสายไฟต้องยึดสายได้แน่นไม่หลวมหลุดง่าย
- Nylon cable ties ที่รัดสายไฟ ต้องทำจาก ไนล่อน ทนอุณหภูมิสูง เหนียว ทนแรงดึง แรงกระชากได้ดี
- Crimping tool อุปกรณ์ตัด เจาะ ย้ำ ฯลฯ ที่ดี โลหะที่มาทำหัวย้ำ, ตัด, เจาะ ต้องทำจากเหล็กผสมคาร์บอน และอัลลอย มีความแข็งแรง และไม่เป็นสนิม อีกทั้งด้ามจับออกแบบให้เหมาะกับสรีระของมือ และมีตัวช่วยทดแรงในการย้ำลดลง 30% ทำให้การย้ำสายมีประสิทธิภาพ
ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าอุปกรณ์ที่ดูเหมือนว่าจะเลือกง่ายก็ไม่ง่ายเสมอไป อาจจะต้องดูสเปคกันซักนิด และจ่ายเพิ่มอีกหน่อยเพื่อเสถียรภาพของระบบ เพราะปกติแล้วเราจะเลือกอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจของระบบเช่น PLC, AC Drive, Contractors, หรือ Power Meter ที่มีคุณภาพเยี่ยม สเปคสูง แต่พอเป็นอุปกรณ์ติดตั้งแล้วกลับถูกมองข้าม ไปเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีราคาไม่สูง ซึ่งทำให้ระบบที่เป็นหัวใจการทำงานสะดุดได้จากอุปกรณ์ตัวเล็กๆ เหล่านี้ จึงอยากฝากข้อคิดว่า การเลือกอุปกรณ์ตัวเล็กที่มีคุณภาพดีจะไม่ทำให้เกิดระบบผีสิงและทำให้ระบบการทำงานสุนทรีย์มากยิ่งขึ้นครับ หากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ ทางเรายินดีให้คำปรึกษาครับผม ^^