หากย้อนเวลากลับไปในอดีตถ้าพูดถึง Power Meter หลายท่านคงนึกถึงเครื่องมือวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น ค่ากระแส ค่าแรงดัน ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าฮาร์โมนิคและอื่นๆ แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลทำให้มิเตอร์มีฟังก์ชันพิเศษมากมายตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลายเพราะนอกจากจะวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าได้แล้วยังสามารถประยุกต์ใช้งานสามารถต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรองรับการใช้งานใน Application ที่หลากหลาย ซึ่งก่อนหน้านั้นเราได้พูดถึงวิธีการใช้งานเบื้องต้นของ Power Meter กันไปบ้างแล้ว วันนี้เราจะมาดูฟังก์ชันเด็ดๆ ที่น่าสนใจกันดีกว่าครับ พร้อมแล้วไปดูกันเลย….
Limit Treshold เป็นฟังก์ชันที่สามารถกำหนดค่าสูงสุด-ต่ำสุด ของพารามิเตอร์ต่างๆ และเมื่อ Function Limit ทำงานก็สามารถนำไปตั้งให้เป็น Alarm ได้ (มิเตอร์ 1 ตัว สามารถกำหนด Limit Treshold ได้ 8 ค่า)
ตัวอย่างเช่น จากรูปด้านบนกำหนดค่ากระแสสูงสุด (10A) และค่ากระแสต่ำสุด (4A) โดยพบว่าค่ากระแสที่วัดได้คือ 11.9A แสดงว่า Function Limit ทำงาน
BOOLEAN LOGIC เป็นฟังก์ชันที่สามารถนำพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น digital inputs, digital outputs, limit thresholds, Boolean variables มากระทำทางตรรกศาสตร์ เช่น AND-AND NOT, OR-OR NOT หรือ EXOR-EXOR NOT กันได้และเมื่อ Function Boolean ทำงานก็สามารถนำไปตั้งให้เป็น Alarm ได้ (มิเตอร์ 1 ตัว สามารถกำหนด Boolean ได้ 8 ค่า)
ตัวอย่างเช่น BOO1 = LIM1 AND LIM2 แสดงว่า BOO1 จะทำงานเมื่อ Function LIM1 และ Function LIM2 ทำงานทั้งคู่ แต่ถ้า LIM1 หรือ LIM2 ทำงานเพียงอันใดอันหนึ่ง BOO1 ก็จะไม่ทำงาน
ALARMS เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆ โดยสามารถเลือกค่า Limit thresholds, Input หรือ Boolean มากำหนดเป็น ALARMS ได้โดยที่มิเตอร์สามารถแจ้งเตือน (ALARMS) ได้ที่หน้าจอมิเตอร์เอง
ฟังก์ชัน Output/Input
Output/Input เป็นฟังก์ชันที่รับและส่งสัญญาณไปสู่ภายนอก ผ่านทางการเพิ่ม option module โดยสามารถรับและส่งได้ทั้งสัญญาณ Digital และ Analogue
- Digital Input มิเตอร์สามารถรับสัญญาณ Digital จาก Inductive Proximity, Photo Sensor หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้นับจำนวน (counter), นับความเร็วรอบ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น มิเตอร์สามารถรับสัญญาณ Digital จาก Photo Sensor เพื่อใช้ในการนับจำนวนขวดที่วิ่งบนสายพานแล้วให้แสดงผลบนหน้าจอมิเตอร์
- Digital Output มิเตอร์สามารถส่งสัญญาณ Digital ออกไปเพื่อตัดต่อ contactor นอกจากนั้นยังสามารถส่งสัญญาณเพื่อให้ไฟ Alarm ทำงานหรือให้บัสเซอร์ทำงานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติ
- Analogue Input มิเตอร์สามารถรับสัญญาณ Analogue จากอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น รับสัญญาณ Analogue, PT100 จาก Temp Sensor เพื่อมาแสดงอุณหภูมิที่หน้าจอมิเตอร์, รับสัญญาณ Analogue จาก Pressure Transmitter เพื่อมาแสดงผลความดันที่หน้าจอมิเตอร์
- Analogue Output มิเตอร์สามารถส่งสัญญาณ Analogue เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ PLC อื่นๆ ได้
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน Password ที่สามาถตั้งรหัสเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ตัวอุปกรณ์ ซึ่ง Password มีให้เลือกด้วยกัน 2 แบบ คือ User Password และ Advanced Password
วิดีโอแนะนำการตั้งค่า Password
- User Password ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปอ่านค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ได้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำการรีเซ็ทค่าได้
- Advanced Password ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปอ่านค่าพารามิเตอร์ต่างๆ และทำการรีเซ็ทค่าต่างๆ ได้
วิดีโอแนะนำวิธีการปลดล็อค Password
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า Power Meter ในปัจจุบันมีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลายรองรับต่อการนำไปประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ประกอบกับหน้าจอที่เป็นแบบ Graphic LCD Display ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเช็คค่าและอ่านค่าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใด Power Meter จึงได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน หากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Power Meter สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ เราพร้อมยินดีให้บริการ