Rotary Filling Machine เครื่องบรรจุแบบหมุน

0

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99-8

สวัสดีครับ ผู้อ่าน EF SOCIETY ทุกท่าน ในบทความนี้จะเป็นครั้งแรกที่เราจะเจาะเข้าไปดูกระบวนการผลิตเครื่องดื่มในขั้นตอนการบรรจุขวดกันครับ ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลจากประสบการณ์ตรงและมุมมองที่ประยุกต์ขึ้นแบบเจาะลึกจริงๆ ครับ

เครื่องบรรจุแบบหมุน (Rotary Filling Machine)

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99-3คือเครื่องจักรสำหรับบรรจุของเหลวลงในขวดแบบอัตโนมัติ ซึ่งกลไกในการบรรจุของเหลวใส่ขวดก็มีได้หลายวิธีการ โดยการเคลื่อนที่ของกระบวนการแบบหมุนนั้นมีข้อดีหลายอย่าง อาทิเช่น ความเร็วในการผลิตสูงและใช้พื้นที่ติดตั้งเครื่องจักรน้อยลง

สำหรับบทความนี้ ผมขออนุญาตพุ่งเป้าไปที่จุดที่บรรจุน้ำลงขวดเพียงจุดเดียวนะครับ ลองมาดูกันเลยว่าตำแหน่งนั้นมีการทำงานกันแบบไหนและมีเทคโนโลยีหรออุปกรณ์เซ็นเซอร์สมัยใหม่แบบไหนใช้อยู่ในนั้นบ้าง มาดูกันเลยครับ!!!

เทคโนโลยีการบรรจุลงขวด

สำหรับขั้นตอนการบรรจุขวดมีเทคโนโลยีในการวัดปริมาณของเหลวเพื่อบรรจุลงในขวดหลากหลายรูปแบบ ผมขออนุญาตนำเสนอในรูปแบบที่นิยมและมีใช้ทั่วไปครับ

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99-4

  1. เซ็นเซอร์วัดระดับแบบก้านพร้อมลูกลอย วิธีนี้จะวัดปริมาณของเหลวที่บรรจุลงในขวดได้ค่อนข้างละเอียดเนื่องด้วยเซ็นเซอร์ตัวนี้บางรุ่นสามารถวัดค่าได้ถึงระดับไมครอนโดยเซ็นเซอร์ตัวนี้ใช้วัดระดับของของเหลวในถังพักก่อนจะบรรจุลงขวด

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99-5

2. เซ็นเซอร์วัดน้ำหนัก (Load cell) ซึ่งใช้งานร่วมกับคอนโทรลเลอร์ เช่น PAXS โดยเซ็นเซอร์จะวัดน้ำหนักขวดน้ำ เมื่อมีบรรจุของเหลวเข้าไปในขวด เซ็นเซอร์ก็จะส่งสัญญาณอนาล็อกไปยังคอนโทรลเลอร์ ซึ่งตั้งค่า Set point ของปริมาณที่ต้องการบรรจุไว้ เมื่อถึงระดับน้ำหนักที่ต้องการคอนโทรลเลอร์ก็จะส่งสัญญาณ Output เพื่อผิดวาล์วท่อส่งของเหลว

3. เซ็นเซอร์วัดอัตราการไหลแบบเหนี่ยวนำ (Inductive Fiow Sensor) สำหรับวัดอัตราการไหลเพื่อนำมาคำนวณเป็นปริมาตรของของเหลวที่บรรจุลงขวด โดยใช้วาล์วเป็นอุปกรณ์สำหรับเปิด-ปิด ของเหลว

เทคโนโลยีการส่งผ่านสัญญาณ

ปกติแล้วเครื่องบรรจุแบบหมุนจะมีการเคลื่อนที่เป็นวงกลมขณะบรรจุของเหลวและปล่อยขวดที่บรรจุเสร็จลงบนสายพาน เพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป ในการหมุนของเครื่องจักรนั้นจึงเป็นอุปสรรคในการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากเซ็นเซอร์บริเวณหัวจ่ายกับคอนโทรลเลอร์ต่างๆ แน่นอนการเดินสายไฟบริเวณจุดที่มีการหมุนตลอดเวลาย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แน่ แต่…ผมมีตัวช่วย!!! ด้วยอุปกรณ์สมัยใหม่ครับ

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99-2

Wireless Sensor: อุปกรณ์ส่งสัญญาณ Input/Output ทั้งแบบสัญญาณดิจิตอลและอนาล็อกแบบไร้สาย เหมาะสำหรับงานที่ต้องการส่งสัญญาณในระยะไกลๆ หรือการส่งสัญญาณในจุดที่มีการเคลื่อนที่ส่วนประกอบของ Wireless Sensor สำหรับใช้งานบริเวณจุดหมุน มีอยู่ 3 ส่วน ดังนี้

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%b8%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%99-7

 

  1. Gate: เป็นส่วนรับและรวมสัญญาณจาก Node ต่างๆ เพื่อส่งต่อไปยังคอนโทรลเลอร์หรือ PLC
  2. Node: เป็นส่วนรับสัญญาณจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อส่งต่อแบบไร้สายไปยังส่วนรับสัญญาณหรือ Gate
  3. Battery: สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กับ Node เนื่องจาก Node จะมีการเคลื่อนที่หมุนตลอดเวลา จึงไม่เหมาะสมที่จะรับไฟเลี้ยงจากสายไฟที่ต่อจาก Power supply ด้านนอก

สุดท้ายนี้ ผมก็หวังว่าการเจาะส่วนของการบรรจุของเหลวลงขวดแบบหมุนในบทความนี้คงจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนาการผลิตเครื่องดื่มแบบบรรจุขวดได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปครับ ครั้งหน้าเราจะมีบทความดีๆ อะไรมาฝากอีก คอยติดตามกันนะครับ วันนี้สวัสดีครับ