หลายหลากรูปแบบการสื่อสาร กับอุปกรณ์
สวัสดีเพื่อนวิศวกรทุกท่าน เนื่องจากปัจจุบันในงานอุตสาหกรรม งานอาคารหรืองานต่างๆ ก็มักจะมีระบบศูนย์กลางในการควบคุม (control) การตรวจสอบ (monitor) โดยที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
เครื่องจักร เครื่องมือวัด และอุปกรณ์อื่นๆ ก็จะสื่อสารเข้าสู่ระบบนี้ได้ ซึ่งระบบนี้ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
ในคอลัมน์นี้เราจะกล่าวถึงรูปแบบต่างๆของการสื่อสารเนื่องจาก
ในปัจจุบัน รูปแบบของการสื่อสารนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น RS232 RS485 Ethernet เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรทราบถึง คุณสมบัติ ข้อดี ข้อด้อยของรูปแบบของสื่อสารแต่ละประเภทเพื่อ
จะได้เลือกใช้งานได้เหมาะสมและถูกต้อง
1. รูปแบบการสื่อสาร
Half Duplex เป็นวิธีการสื่อสารแบบสองทิศทางสลับกัน โดยที่แต่ละฝ่าย
สามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งและผู้รับ และส่งข้อมูลผ่านช่องสัญญาณเดียว คือไม่
สามารถรับส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ ต้องผลัดกันรับ และผลัดกันส่ง
Full Duplex เป็นวิธีการสื่อสารแบบสองทิศทางในเวลาเดียวกัน โดยทั้งฝั่งรับและฝั่งส่งสามารถสื่อสารพร้อมกันได้ในขณะเวลาเดียวกัน
2. ความเร็ว อัตราการส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับ ชนิดของสายสัญญาณ, ระยะทาง และปริมาณ
สัญญาณรบกวน ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างรูปแบบการสื่อสารของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ที่เราเรียกว่า ดิจิตอลมิเตอร์ (Digital Meter) เนื่องจากในปัจจุบันมิเตอร์ส่วนใหญ่
จะออกแบบมาให้ยืดหยุ่นต่อการใช้งาน กล่าวคือ รูปแบบการสื่อสารของมิเตอร์นั้น
จะขึ้นอยู่กับ module การสื่อสารที่ผู้ใช้งานเลือกใช้ โดย module สำหรับการสื่อสาร
มีดังนี้ module RS485, module R232, module USB, module Ethernet, module GSM ดังนั้นผู้ใช้งานจะเลือกการสื่อสารประเภทใดก็ต้องเลือกให้เหมาะ
กับความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น
สนใจสารมา ตรวจสอบ Spec สินค้า factomart.com
– ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการที่จะเดินสายสื่อสารเป็นระยะทางไกล ก็อาจเลือก
รูปแบบการสื่อสารแบบ RS232
– ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการเดินสายสื่อสารก็อาจเลือกรูปแบบการสื่อสารแบบ
USB กล่าวคือ เมื่อต้องการโหลดข้อมูลจากมิเตอร์เข้าสู่ software ก็สามารถ
นำคอมพิวเตอร์มาโหลดข้อมูลที่หน้างานได้เลย แต่ข้อจำกัดคือ ข้อมูลที่ได้
จะไม่ real time(คือ จะเป็นข้อมูลย้อนหลัง)
– ในกรณีที่ผู้ใช้งานสามารถเดินสายสื่อสารเป็นระยะทางไกลได้ (เช่นจากหน้างาน
มายังห้องคอนโทรลซึ่งมีระยะทางไกล) ก็อาจเลือกการสื่อสารแบบ RS485
โดยการสื่อสารแบบนี้ถือว่าเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
– ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ LAN ก็สามารถเลือกการสื่อสาร
แบบ Ethernet ซึ่งในประเด็นนี้หลายท่านเข้าใจว่า มิเตอร์ทุกตัวต้องสื่อสาร
แบบ Ethernet แต่ในความเป็นจริงเราจะ link มิเตอร์แต่ละตัวด้วยการสื่อสาร
แบบ Multidrop ด้วย RS485 โดยจะมีเพียงตัวสุดท้ายของ loop เท่านั้น
ที่จะทำหน้าที่เป็น Ethernet gateway คือจะใส่ module สื่อสารทั้ง RS485
และ Ethernet โดยวิธีนี้จะประหยัดมากกว่าการใส่ module Ethernet ไปที่
มิเตอร์ทุกตัว