งัดแงะ แกะเกา ระบบ Link Network
จาก EF magazine ฉบับที่แล้วน้องหมวยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเกี่ยวกับ HMI มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่าน และใน EF เล่มนี้ก็เช่นเคย น้องหมวยได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ และ Application เจ๋งๆ มาฝากเหมือนเคยคะ

พี่ๆ Engineer หลายท่านคงเคยสงสัยเกี่ยวกับ ระบบ IO Link Network กัน แต่ก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว I/O Link คืออะไรกันแน่ บ้างก็อาจสงสัยว่ามันดีกว่า
การลากสาย Sensor เข้า Controller แบบเก่าอย่างไร จะใช้งานยากไหม วันนี้น้องหมวยจะมาไขข้อข้องใจให้กับพี่ๆ ทุกท่านกันคะ

IO Link เป็นมาตรฐานการสื่อสารชนิดหนึ่ง ถูกพัฒนาโดย IO Link Consortium ภายใต้การกำกับดูแลของ Profibus & Profinet International รูปแบบการ
รับส่งข้อมูลของ IO Link จะเป็นแบบ Point to Point ซึ่งหลายๆ คนอาจ
เข้าใจผิดว่า IO Link คือ Field Bus ชนิดหนึ่ง น้องหมวยข้อชี้แจงว่าไม่ใช่
IO Link จะเป็นอยู่ในระดับ I/O เท่านั้นคะ

จุดเด้น เด่นของที่ควรทราบ
Universal (ความเป็นสากล)
– IO Link เป็นอิสระจาก Fieldbus นั่นหมายความว่า เราสามารถใช้งาน
IO-Link เข้ากับ Fieldbus ได้หลากหลาย เช่น ใช้งานกับ Profibus/
Profinet (PLC Siemens), CC-Link (PLC Mitsubishi), DeviceNet
จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความหลากหลายของ Controller
– IO-Link ใช้เชื่อมต่อด้วย Cable มาตรฐานขนาด M5, M8 และ M12
– Sensor โดยทั่วไปสามารถต่อใช้งานกับระบบ IO-Link ได้ทันที

High functionality (ฟังก์ชั่นเทห์ๆ)
– IO-Link สามารถตรวจสอบการทำงาน สถานะ ของ Sensor ได้
เช่น Sensor เสีย หรือ สัญญาณมาไม่ครบ เป็นต้น
– IO-Link Intelligent Sensor สามารถทำงานได้หลากหลายฟังก์ชั่น
– IO-Link มีการสื่อสารที่รวดเร็ว เพื่อตอบสนองที่แม่นยำของระบบ

Easy handling (IO Link ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น)
– IO-Link ใช้สายเส้นเดียวต่อ 1device จึงง่ายต่อการเดินสายไฟ
– IO-Link มีวิธีการตั้งค่าการใช้งานที่ง่ายและสะดวก
– ถ้าเราใช้ IO-Link คู่กับ IO Link device (Sensor) เราสามารถ
สั่งงานให้ IO Link device (Sensor) ทำงานโดยอัตโนมัติตาม
ค่า Parameter ที่ตั้งไว้

ใน EF Magazine ฉบับหน้าน้องหมวยจะมาอธิบายเพิ่มเติมว่า ทำไม้ ทำไม จะต้องใช้ IO Link แล้ว IO Link จะช่วยให้ชีวิตการ ทำงานของ Engineer อย่างเรา เรา เป็นเรื่องง่ายและประเทือง
ปัญญาได้อย่างไร ติดตามคอลัมน์ของน้องหมวยได้ใน EF Magazine ฉบับหน้านะคะ