บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมาจากการรวมกิจการพลังงานของรัฐทั้ง 2 องค์กร คือองค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900[2]
จากการสำรวจของนิตยสารฟอร์จูนในปี พ.ศ. 2553 บริษัท ปตท. ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 155 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก และในปี พ.ศ. 2553 ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้สูงสุดของไทย รวมมูลค่ารายได้ 1,930,852 ล้านบาท[3]
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) | |
---|---|
![]() |
|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
ก่อนหน้า | การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(2521-2544) |
ก่อตั้งเมื่อ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 |
บุคลากรหลัก | ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ (ประธานกรรมการ) ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการผู้จัดการใหญ่)[1] |
อุตสาหกรรม | พลังงานและสาธารณูปโภค |
ผลิตภัณฑ์ | น้ำมัน,ก๊าชธรรมชาติ,ปิโตรเคมี |
รายได้ | ▲ 2,475,494 ล้านบาท (2554) |
กำไร | ▲ 105,296 ล้านบาท (2554) |
ทรัพย์สินทั้งหมด | ▲ 1,402,412 ล้านบาท (2554) |
หนี้สิน | ▲ 758,463 ล้านบาท (2554) |
หุ้นรวม | ▲ 555,920 ล้านบาท (2554) |
คำขวัญ | นิยมไทย ศรัทธาไทย ใช้ ปตท. (อดีต) พลังไทย เพื่อไทย (อดีต) พลังที่ยั่งยืน เพื่อไทย (ปัจจุบัน) |
เว็บไซต์ | www.pttplc.com |
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2 พันล้านหุ้น โดยมี กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 [4]
9 มีนาคม ปี 2553 ปตท.มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 15 อันดับแรก ดังนี้[5]
- กระทรวงการคลัง 51.494%
- กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 7.686%
- กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 7.686%
- บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 2.951%
- CHASE NOMINEES LIMITED42 2.146%
- STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 1.576%
- HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 1.439%
- NORTRUST NOMINEES LTD 1.170%
- สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี) 0.954%
- MELLON BANK,N.A. 0.643%
- กองทุน GPF EQ-TH 0.485
- HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C 0.425%
- GOVERMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION 0.401%
- THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 0.392%
- NORBAX INC.,13 0.391%
เหตุการณ์สำคัญ
- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 – คณะรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากทางประเทศไทย เป็นหนึ่งในหลายประเทศของโลกที่ประสบปัญหาวิกฤติขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อบริโภค สาเหตุมาจากวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานโลก ในช่วงปี พ.ศ. 2521 และมีวัตถุประสงค์เพื่อพึ่งพาตนเอง และ ดำเนินกิจการพลังงานปิโตรเลียมหรือธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาล โดยให้มีการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 องค์กร คือ องค์การเชื้อเพลิง และ องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เข้ากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยตรง
- พ.ศ. 2523 – นายระยอง ยิ้มสะอาด หนึ่งในคณะทำงานศิลปกรรม ของ ปตท. ได้ทำการออกตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หลายตรา และในที่สุด ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท. ได้ประกาศให้ใช้ตราที่เป็นเปลวไฟสีฟ้า เพลิงสีน้ำเงินและศูนย์กลางสีแดง เป็นตราสัญลักษณ์ขององค์กรตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา รัฐบาลจึงนำเครื่องหมายนี้ ขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าหลัก ต่อกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2524
- พ.ศ. 2528 – คณะรัฐมนตรี ได้ให้ ปตท.จัดตั้ง “บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด” เพื่อดำเนินการสำรวจ ค้นหาพื้นที่ และผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ และต่อมา ก็ได้จัดตั้ง “บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด” เพื่อดำเนินการกิจการปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
- พ.ศ. 2533 – จำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำรายแรกภายใต้ชื่อการค้า พีทีที ไฮซีเทน
- พ.ศ. 2534 – เป็นผู้นำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วมาจำหน่ายในประเทศไทยมาจำหน่ายเป็นรายแรกของประเทศภายใต้ชื่อการค้า พีทีที ไฮออกเทน
- พ.ศ. 2536 – ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง วางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงที่สุด สำหรับรถสมรรถนะสูง และรถที่ต้องการน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงพีทีที เพอร์ฟอร์มา 98 และน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว พีทีที แม็กซ์ (มีค่าออกเทน 91)
- พ.ศ. 2538 – ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วอย่างเป็นทางการ และวางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วสูตรใหม่ พีทีที ซูเปอร์ 97 และ พีทีที แม็กซ์ 92
- พ.ศ. 2540 – วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว สำหรับรถสมรรถนะสูง และรถที่ต้องการน้ำมันที่มีค่าออกเทน 95 พีทีที เพอร์ฟอร์มา โกลด์
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) โดยปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย สามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมดของ ปตท. ไปเป็น บมจ.ปตท. แทน
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544– บมจ.ปตท. ได้ทำการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก
- พ.ศ. 2545 – เปิดจำหน่ายแก๊สโซฮอล์เป็นรายแรก ณ สน.ปตท.สาขาสำนักงานใหญ่ ภายใต้ชื่อการค้า พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95
- 7 ธันวาคม พ.ศ. 2548– บมจ.ปิโตรเลียมแห่งชาติ และ บมจ.ไทยโอเลนฟินส์ ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.เคมิคอล
- 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – บมจ.ปตท. ได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย ของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี
- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – บมจ.อะโรเมติกส์ไทย และ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.อโรเมติกส์และการกลั่น
- 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กรณีการแปรรูปฯ ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน กลับคืนไปให้กับกระทรวงการคลัง เพราะถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 – พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ
- พ.ศ. 2552 – บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เจ็ท และร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ได้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระหน้าที่ และบุคลากรทั้งหมด ไปอยู่ในการกำกับ ของ ปตท. จึงทำให้เจ็ท เปลี่ยนแปลงเป็น ปตท. คงเหลือร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ไว้ เพียงอย่างเดียว
- 24 กันยายน พ.ศ. 2553 – เปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันเกรดพรีเมียมภายใต้ชื่อ พีทีที บลู อินโนเวชั่น
- 10 กันยายน พ.ศ. 2554 – ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าปฎิบัติการปิโตรเลียมขั้นต้นรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่แทน ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
- 11 เมษายน พ.ศ. 2555 – เกิดเหตุระเบิดที่หม้อต้มไอน้ำที่ออกจากขบวนการผลิตแก๊สธรรมชาติอัด ซึ่งอยู่ในสถานีจ่ายแก๊สธรรมชาติอัด ใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น[6] ส่งผลให้สถานีเสียหายและไม่มีแก็สออกจำหน่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บริษัทในเครือ