Semi Stories (ตอนพิเศษ) : ร่วมด้วยช่วย Semi เราจะผ่านวิกฤตไปด้วยกันนะ !!
สวัสดีครับ ชาว EF ทุกท่านทั้งขาประจำและขาจร สำหรับคอลัมท์ Semi Stories ฉบับนี้เป็นตอนพิเศษเพื่อมา Share ข้อมูล, ปัญหา หรือวิธีการจัดการต่างๆ หลังวิกฤตการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าเมื่อทุกท่านได้อ่านคอลัมท์นี้ โรงงานบางแห่งอาจจะเริ่มเดินงานเป็นปกติแล้ว บางโรงงานอาจจะอยู่ในช่วงฟื้นฟูกู้เครื่องจักร หรือบางโรงงานอาจจะกำลังพบปัญหาต่างๆ อยู่ก็เป็นได้
สิ่งแรกที่เราควรทำ !! : หลายๆ คนคงบอกว่าสูบน้ำออก, ทำความสะอาด หรือรื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เสียหายออก แต่เหนือสิ่งอื่นใดผมกลับมองว่าเราควรเดินทางเข้าโรงงานก่อน.. เฮ่ยไม่ใช่ !! เราควรมีการอบรมพนักงานถึงเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะด้านไฟฟ้าเป็นสิ่งแรกครับ แล้วค่อยเริ่มฟื้นฟูโรงงานอย่างจริงจังโดยขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
- Cleaning is Inspection : ไม่ใช่การทำความสะอาดเพื่อความเรียบร้อย แต่เป็นการทำความสะอาดเพื่อตรวจสอบสิ่งผิดปกติที่ซ้อนเร้นอยู่ โดยเฉพาะด้านไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลและเครื่องจักรได้ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก 2-4 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับขนาดโรงงานและจำนวนพนักงาน
- Replace for Safety : ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่สำคัญทันที ไม่ควรซ่อมแซมเพื่อใช้งาน เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า, เบรกเกอร์ต่างๆ, สายไฟและอุปกรณ์อื่นๆ ในตู้ MDB (Main Distributor Board) ซึ่งบางกลุ่มบริษัทที่มีงบประมาณเพียงพอ หรือเป็นโรงงานขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่จะสั่งซื้อใหม่ทันทีที่เกิดอุทกภัยเพื่อทางผู้ผลิตจะได้เตรียมผลิตและนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานได้ทันทีหลังพ้นวิกฤตการณ์
- Rebuilt utilities : โดยเฉพาะระบบน้ำประปาและไฟส่องสว่าง ถ้าไม่สามารถทำได้โดยเร็ว แนะนำให้ซื้อหรือเช่าระบบสำรองมาใช้แทน
- Repair machine : กรณีเครื่องจักรไม่ใหญ่มาก ควรทำความสะอาดและส่งให้ผู้ผลิตซ่อมแซม แต่กรณีเครื่องจักรใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ผมมีวิธีการดีๆ มาฝากกันครับ
- Lubrication – เติมสารหล่อลื่นตามจุดต่างๆ ของเครื่องจักรที่ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือจุดหมุน และทดลองขยับหรือหมุนอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อดูความผิดปกติเบื้องต้น
- Bolt & Nut – เนื่องจากเครื่องจักรนั้นมีส่วนประกอบของน็อตหรือสกรู ซึ่งเมื่อสิ่งเหล่านี้จมน้ำนั้นอาจเกิดปัญหาเรื่องการยึดแน่นได้ จึงควรทำความสะอาดน็อตหรือสกรูและขันแน่นอีกครั้ง พร้อมทำไอมาร์ค
- Pneumatic – ระบบลมเป็นระบบที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงาน และเป็นระบบที่ดูแลรักษาได้ง่าย เนื่องจากเป็นระบบ Closed loop แต่สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบจุด Drain หรือจุด Leak ซึ่งเป็นรูขนาดเล็กและอาจเกิดปัญหาตันได้ง่าย
- Transmission – ระบบส่งกำลัง สิ่งสำคัญคือสภาพอุปกรณ์ที่ใช้ส่งกำลังเช่น ผ้าใบ, โซ่ หรือโพลิเมอร์ต่างๆ เพราะถ้าวัสดุเหล่านั้นเริ่มสูญเสียสภาพจะส่งผลให้ระยะในการส่งกำลังผิดเพี้ยนไป
- Hydraulic – ควรจะถ่ายน้ำมันใหม่และตรวจสอบระบบซีลต่างๆ ให้เรียบร้อย
- Electrical – เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะถ้าเกิดผิดพลาดที่ระบบนี้อาจส่งผลให้ทั้ง 5 ระบบก่อนหน้านี้เกิดปัญหาเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นควรตรวจเช็คและใช้น้ำยาไล่ความชื้นสำหรับอุปกรณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งถ้าอุปกรณ์ชิ้นใดที่ไม่สามารถตรวจเช็คเพื่อยืนยันการใช้งานได้ควรรีบเปลี่ยนทันที
ทั้งนี้คอลัมน์ Semi Stories ก็มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์หลากหลายชนิดมาแนะนำกัน โดยเราได้คัดเลือกอุปกรณ์ที่จำเป็นและสามารถทนน้ำได้มาเป็นตัวอย่างให้ดูกัน (พวก IP สูงจะทนน้ำได้ดีครับ !!)
1.Q12 : โฟโต้เซ็นเซอร์ความแม่นยำสูง พร้อม Jacket กันน้ำจาก Banner โฟโต้เซ็นเซอร์คุณภาพสูง ขนาดเล็กรูปทรงมาตรฐานเหมาะกับการติดตั้งเพื่อตรวจจับชิ้นงานในพื้นที่ที่จำกัด และมีออปชั่น PFA Jacket ซึ่งสามารถกันน้ำและฝุ่นได้ที่ระดับ IP67
2.Junction Block : กล่องรวมสายจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์จากผู้ผลิตแบรนด์ Balluff เพื่อยกระดับมาตรฐานโรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ง่ายต่อการตรวจสอบ กันน้ำด้วย IP67 และลดขั้นตอนการเดินสาย Junction Block นี้จะช่วยลดปัญหาและขั้นตอนยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เพิ่มเติม (พลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คอลัมท์ i-แพ็ค ซีรี่ย์ค้าบ !!)
3.Conduit & Fitting : ท่อสายไฟและข้อต่อจาก Murrplastik เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับสายไฟ รวมทั้งป้องกันน้ำหรือสารเคมีต่างๆ ด้วย IP67 อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการเดินสายไฟด้วย
4.Enystar : ตู้ไฟฟ้าพลาสติกจาก Henselกล่องไฟฟ้าจาก Hensel จะเป็นคำตอบสำหรับปัญหาสนิมของกล่องหรือตู้ไฟฟ้า ลดปัญหากล่องไฟฟ้าบุบหรือเสียรูปเมื่อโดนแรงกระทำอย่างรุนแรง ประกอบและติดตั้งได้ง่ายเพียงไม่กี่นาที และยังกันน้ำได้ด้วย IP65 จึงเหมาะสมที่จะใช้งานได้ในทุกๆ โรงงานทั้งในรูปแบบตู้ DB และตู้ควบคุมของเครื่องจักรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้างานที่มีโอกาสสัมผัสน้ำหรือสารเคมี
ทั้ง 4 อุปกรณ์ที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิกส์และไฟฟ้าที่ทนแดด ทนฝน ทนมือ ทนเท้า เสมือนคนรับใช้… เอ้ย !! ไม่ใช่… แค่ทนฝุ่นกับทนน้ำ แต่อย่างไรก็ตามในความที่อุปกรณ์พวกนี้เป็นอุปกรณ์เชิงอิเล็คทรอนิกส์ยังไงแล้วก็ไม่ควรแช่น้ำเป็นเวลานานอยู่ดีครับ เนื่องด้วยสาเหตุทางด้านความปลอดภัยทั้งต่อตัวบุคคลและทรัพย์สินครับ ผมจึงมีแนวคิดแนะนำให้ออกแบบการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ใหม่ในช่วงจังหวะฟื้นฟูโรงงานหลังอุทกภัย โดยยึดแนวคิดติดตั้งไว รื้อออกก็ต้องไวเหมือนกัน ดังตัวอย่างอุปกรณ์ Junction Block ของ Balluff หรือ Electrical Box ของ Hensel ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะเป็นอะไรที่ดีเยี่ยมไปเลยครับ ไหนๆ ก็ต้องฟื้นฟูกันใหม่อยู่แล้วนี่เนอะ เนอะ….