กลับมาอีกครั้งกับ In the Box ในฉบับนี้เราขอนำเสนอตู้ Cap Bank สำหรับควบคุมค่า Power Factor(PF) เมื่อใดที่มีโหลดแบบ Inductive มากๆ จากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น HVAC (เครื่องทำความร้อนหรือความเย็น), มอเตอร์ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ค่าของ Power Factor จะลดต่ำลงจากค่าแฟคเตอร์ 1 ทำให้เกิดความสูญเสียประสิทธิภาพในระบบและทำให้เกิดความร้อนในระบบมากกว่าปกติ นอกจากจะทำให้อุปกรณ์มีปัญหาแล้วยังจะกินไฟมากกว่าปกติอีกด้วย รวมถึงถ้าค่าแฟคเตอร์ต่ำกว่าที่ทางองค์กรไฟฟ้ากำหนด ทางโรงงานหรือผู้ใช้งานอาจจะโดนปรับจากทางกรมไฟฟ้าด้วย ดังนั้นเราควรที่จะมีตู้ Capacitor Bank (Cap Bank) ที่สับ Capacitor เข้ามาสู้กับพวก Inductor นั่นเอง
เราขอนำเสนอดีไซน์และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในตู้ Cap Bank ให้ท่านได้เป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ครับ
SWITCH DISCONNECTORS
- พิกัดกระแสตั้งแต่ 16A -7000A
- รุ่น Direct Operation,door coupling และ in housing
- อุปกรณ์เสริมหลากหลาย
CONTACTORS
- รุ่น 4-pole พิกัดกระแสสูงสุด 1600A ใน AC1 duty
- รุ่น 3-pole พิกัดกระแสสูงสุด 1600A ใน AC3 duty
- รุ่น 4-pole พร้อม 2NO + 2NC หรือ 4NC แบบ AC และ DC
PROTECTION RELAYS
- แบบ Modular สำหรับติดตั้งบน DIN rail ขนาด 35 mm.
- Minimum และ Maximum monitoring relays สำหรับระบบ single phase และ 3-phase แบบที่มีและไม่มี Neutral
- Voltage monitoring relays สำหรับasymmetry,ควบคุม phase loss และ phase sequence
- Relays สำหรับป้องกัน phase shift Frequency monitoring relays
FUSE HOLDERS
- แบบ modular สำหรับฟิวส์ขนาด 10×38,41×51 และ 22×58
- ระดับการป้องกันที่ IP20 มีฝาปิดเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยไม่ได้เจตนา
- มีใบรับรองจาก UL และ CSA มีรุ่นที่มีไฟบอกสถานะที่สังเกตได้ง่ายว่าฟิวส์ขาดหรือยัง
MEASURING INSTRUMENTS
ใช้วัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆทางไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นแรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า,กำลังไฟฟ้า,พลังงานไฟฟ้า, เพาเวอร์แฟกเตอร์,ฮาโมนิกซ์ เป็นต้น
– มีหลายรุ่นหลายฟังก์ชั่นให้เลือกใช้
– มีรุ่นที่มีการแสดงผลเป็นแบบกราฟฟิก
– มีรุ่นที่สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นภายหลังได้ซึ่งจะเป็นแบบ Plug-in Module
– สามารถใช้งานกับระบบไฟฟ้าได้หลายหลายทั้ง LV จนถึง HV สามารถสื่อสารและส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น RS485,RS232,USB หรือ Ethernet เป็นต้น
CURRENT TRANSFORMERS
ใช้สำหรับแปลงกระแสเพื่อเข้าอุปกรณ์วัด เช่น Digital power meter ,P.F. Controller เป็นต้น
– มีให้เลือกหลายขนาดโดยมีตั้งแต่ 40A จนถึง 4,000A
– มีความแม่นยำสูง โดยมีความผิดพลาดในการวัด 0.5% มีทั้งแบบคล้องสายเข้าและแบบถอดประกอบได้
AUTOMATIC POWER FACTOR CONTROLLERS
ใช้สำหรับวัดและสั่งตัดต่อคาปาซิเตอร์เข้าระบบไฟฟ้าเพื่อควบคุมค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์
– สามารถสั่งตัดต่อคาปาซิเตอร์ได้ตั้งแต่ 5- 12 steps
– มีฟังก์ชั่นการป้องกันกระแสเกินในคาปาซิเตอร์
– สามารถรับสัญญาณจากเซ็นเซอร์อุณภูมิได้
– มีพอร์ทสื่อสาร RS232 ,RS485 ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ใช้งาน
– สามารถวัดฮาโมนิกซ์ของแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าได้
– มีการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
สามารถตั้ง Alarms ได้
CAPCITORS
ไว้ใช้สำหรับต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงค่าเพาเวอร์ในระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ดี(ค่า P.F. ไกล้เคียง 1 ) ซึ่งจะทำให้สามารถลดภาระของหม้อแปลงลงได้ ลดระแสของหม้อแปลง ลด Loss ที่เกิดขึ้นในสายไฟและหม้อแปลงได้
– สามารถใช้กับระดับแรงดันไฟฟ้าได้หลายระบบ เช่น 230V ,400V ,690V หรือแม้กระทั้ง Medium Voltage ขึ้นอยู่กับรุ่นที่เลือกใช้
– มีขนาด Kvar ให้เลือกหลายขนาด เช่น 5,10 ,25,30,40 kvar เป็นต้น ซึ่งเรายังสามารถนำคาปาซิเตอร์มาต่อขนานกันเพื่อเพิ่ม Kvar ให้มากขึ้นตามความต้องการ เช่น นำ 25 Kvar มาต่อขนานกัน 2 ลูกก็จะได้ 50 Kvar
– เป็นคาปาซิเตอร์แบบแห้ง ซึ่งจะปลอดภัยและไม่เป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม
– เป็นคาปาซิเตอร์แบบกระป๋องซึ่งจะเป็นแบบที่นิยมใช้และระบายความร้อนได้ดี
REACTORS
การใช้รีแอคเตอร์ร่วมกับคาปาซิเตอร์นั้นส่วนใหญ่จะใช้สำหรับป้องกันปัญหาคาปาซิเตอร์ระเบิดอันเนื่องมาจากการรีโซแนนซ์ในระบบไฟฟ้า ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดกับระบบไฟฟ้าที่มีฮาโมนิกซ์
– มีให้เลือกใช้งานได้หลายขนาดซึ่งจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับคาปาซิเตอร์ มีทั้งรุ่นที่ทำมาจากอลูมิเนียม และทำมาจากทองแดง ซึ่งขนาดและราคาก็จะแตกต่างกัน
PUSH BUTTON, PILOT LIGHTS
1.ø22 mm. push buttons และ Selectors – แบบเหล็กและพลาสติกที่ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
2. ø 62 mm ไฟหมุน – แบบไฟติดค้างและไฟกระพริบ, เสียงแบบดังยาวต่อเนื่อง หรือเสียงแบบดังเป็นจังหวะ
3.E-stops and pilot lights – แบบเหล็กและพลาสติกที่ติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย