หลายท่านอาจจะยังสงสัยว่า หลังน้ำท่วมเราควรซ่อมแซมอุปกรณ์ที่จมน้ำไปหรือทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ดีกว่า ซึ่งถ้าหากจะทำตามมาตรฐานสากล เราสามารถอ้างอิงมาตรฐาน NEMA (National Electrical Manufacturers Association) ในหัวข้อที่ชื่อว่า “Evaluating Water–Damaged Electrical Equipment” ซึ่งได้ให้รายละเอียดในการประเมินอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ว่าควรทำการซ่อมแซมหรือควรจะเปลี่ยน ตามรายละเอียดที่สรุปในตารางที่ 1 เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
ตารางที่1 คำแนะนำของมาตรฐาน NEMA ในการจัดการกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม
“Evaluating Water–Damaged Electrical Equipment”
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการฟื้นฟูอุปกรณ์เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้าหลังน้ำท่วมนะคะ จากตารางที่ 1 ตามมาตรฐานของ NEMA อุปกรณ์มอเตอร์(Motor) เช่น Servo Motor หรือ Spindle Motor โอกาสที่จะซ่อมได้มีมากถึง 80% แต่น้ำท่วมอาจจะทำให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของมอเตอร์ได้รับความเสียหาย เช่นฉนวน, สวิตช์, คอนแทกเตอร์, คาปาซิเตอร์ และรีเลย์ป้องกัน รวมถึงการผุกร่อนของส่วนที่เป็นโลหะ และการปนเปื้อนของสารหล่อลื่นของมอเตอร์
ก่อนการซ่อมแซมมอเตอร์ไฟฟ้าเราควรทำการรวบรวมรายละเอียดของมอเตอร์ที่ต้องการซ่อมแซมเพื่อจัดทำเป็นเอกสารในการติดตามความคืบหน้าของงานซ่อมแซม ได้แก่
การตรวจสอบการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า
หลังจากทำการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องทำการวัดค่าความเป็นฉนวนระบบไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า, ฉนวนของสายไฟฟ้าและสายควบคุมทั้งหมดก่อนเริ่มใช้งาน เครื่องมือที่ใช้วัดค่าความเป็นฉนวน เรียกว่า Insulation tester หรือ ที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า Mega Ohm meter ซึ่งมีหลายระดับแรงดัน ไม่ว่า จะเป็น 50V, 100V, 250V, 500V, 1000V, 5kV, 10kV เป็นต้น ฉะนั้นเราต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง
ควรยืนบนพื้นฉนวนในขณะที่ทดสอบระบบไฟฟ้าหรือควรยืนบนพื้นที่แห้งและสวมถุงมือกันไฟฟ้าทำการทดสอบความเป็นฉนวนของตู้สวิตช์หลักและระบบไฟฟ้าย่อยโดยวัดความเป็นฉนวนดังนี้
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดสอบความเป็นฉนวน !
เนื่องจาก Insulation tester จะต้องสร้างแรงดันออกมา ซึ่งเป็นแรงดัน ที่ค่อนข้างสูง ถ้าสัมผัสจะทำให้เกิดอันตราย ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าเป็นเวลานานอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นในช่วงที่ทำ Insulation test ต้องมีคนคอยระวังไม่ให้ใครสัมผัสปลายสายอีกด้านหนึ่ง และเมื่อทดสอบเสร็จแล้วต้องทำการ Discharge ให้เรียบร้อยทุกครั้ง
หากค่าความต้านทานของสายไฟทำการตรวจวัดได้มีค่าน้อยกว่ามาตรฐาน ตามตารางที่ 2 ต้องเปลี่ยนสายใหม่ทั้งหมด
ตรวจสอบค่าความเป็นฉนวนของมอเตอร์ไฟฟ้า
ขอบคุณครับผม
Comments are closed.