ระบบจ่ายไฟในโรงพยาบาล และสถานประกอบการ
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเสถียรภาพของการจ่ายไฟในโรงพยาบาลเป็นหนึ่งในจุดที่สำคัญที่สุดซึ่งในโรงพยาบาลจะมีจุดที่เป็น Critical load ซึ่งระบบไฟจะต้องมีเสถียรภาพมากที่สุดถึงแม้ว่าเวลาที่ไฟดับห้องผ่าตัดก็ยังจำเป็นต้องใช้ไฟอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีการรบกวน ทุกโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องมีระบบไฟสำรองนอกจากนี้คุณภาพของระบบไฟก็ยังเป็นอีกจุดที่สำคัญที่จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ในโรงพยาบาล จนทำให้ตัวอุปกรณ์มีปัญหา เรามาลองดูกันดีกว่าว่าระบบไฟในโรงพยาบาลมีรายละเอียดอะไรบ้าง
…Power distribution in the hospital.
จากโรงผลิตไฟฟ้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงมาตามสายไฟ จนกระทั่งมาถึงสถานีไฟฟ้าย่อย ซึ่งมีหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น หรือต่ำลง ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน เนื่องจากการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านตามสายไฟในระยะทางไกลจะทำให้มีการสูญเสียแรงดันไฟฟ้าส่วนหนึ่ง และเมื่อส่งกระแสไฟฟ้ามาถึงโรงพยาบาลก็จะต้องลดแรงดันไฟฟ้าลงระดับหนึ่งโดยผ่านหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า ก่อนส่งผ่านเข้าสู่ห้องคอนโทรลไฟฟ้า ซึ่งห้องคอนโทรลไฟฟ้าจะกระจายไฟไปยังจุดต่างๆ ของโรงพยาบาลอีกที โดยที่ห้องคอนโทรลไฟฟ้าจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่มีหน้าที่ต่างๆ กันดังนี้
>>Main distribution board (MDB) เป็นแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร โดยจะมี Main circuit breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมด นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จนไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟจำนวนมาก โดยรับไฟจากหม้อแปลง แล้วจ่ายโหลดไปยังแผงย่อยตามส่วนต่างๆ ของอาคาร หรือที่เรียกว่า Sub distribution board
- << Sub distribution board (SDB)
เป็นแผงจ่ายไฟย่อย สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าไปตาม Panel board หรือ Load center หลายๆ ตู้ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคารจำนวนของโหลดนอกจากนี้ ในโรงพยาบาลยังต้องมีห้องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator room) เพื่อสำรองไฟในกรณีที่ไฟดับหรือไฟมีปัญหา
>> นอกจากนี้ ในโรงพยาบาลยังต้องมีห้องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator room) เพื่อสำรองไฟในกรณีที่ไฟดับหรือไฟมีปัญหา
Single line diagram + zone breakdown
>> 1. Circuit breaker,PF Controller,Power meter
2. Generator and Gen set controller
3. Automatic transfer switch, ATS Control
4. Capacitor bank
5. 6. 7. Energy Meter
6. Load center
- Circuit breaker: ทำหน้าที่ตัด-ต่อวงจรไฟฟ้า กรณีที่มีกระแสลัดวงจร หรือมีกระแสไหลผ่านเกินกว่าที่กำหนด
- Surge protection: คือ อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันและถนอมอุปกรณ์ไฟฟ้าจากปัญหาทางกระแสไฟฟ้าต่างๆ เช่นไฟกระชาก (surge), และป้องกันการเหนี่ยวนำไฟฟ้าที่เกิดจากฟ้าผ่า
- Power meter: คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดค่าพารามิเตอร์พื้นฐานทางไฟฟ้า ส่วนใหญ่มักจะติดที่ตู้ MDB
- Automatic transfer switch: คือ อุปกรณ์ที่ใช้เลือกทางเดินไฟระหว่างแหล่งจ่าย 2 แหล่ง เช่น ระหว่างหม้อแปลงการไฟฟ้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- Generator: คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟใช้สำหรับสำรองไฟในกรณีที่ไฟดับหรือไฟมีปัญหา
- Control ATS: คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Automatic transfer switch ซึ่งจะเป็นตัวเช็คความผิดปกติทางไฟฟ้าของแหล่งจ่าย
- Generator Controller: คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เช่นตรวจเช็ค อุณหภูมิ, แรงดัน, ระดับน้ำมันของเครื่องยนต์ เป็นต้น
- Capacitor bank: คือ อุปกรณ์ที่จ่ายค่า reactive power ให้กับอุปกรณ์ทางไฟฟ้าจำพวกขดลวด เช่น มอเตอร์ และหม้อแปลง ใช้สำหรับแก้ไขค่า power factor
- PF Controller: คือ อุปกรณ์ควบคุมการเลือกใช้งาน capacitor ให้เหมาะสมกับการแก้ไขค่า Power factor
- Load Center: คือ แผง circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
- Energy meter: คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า
- Load break switch: คือ อุปกรณ์ที่ตัด – ต่อที่สามารถเปิด – ปิดวงจรได้ในขณะที่มีโหลด
[…] Electrical : ระบบจ่ายไฟฟ้าในโรงพยาบาลและสถ… […]
ขอแนวคิดการป้องกันไฟกรรโชกในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ สำหรับเครื่องมือแพทย์
Comments are closed.