การเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงสำหรับวิชั่น

1

การที่จะมองเห็นภาพชัดเจนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแสงเป็นส่วนสำคัญ แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ไปยังวัตถุ (Object) เมื่อแสงกระทบกับวัตถุจะมีการสะท้อนกลับมาที่ตาของเราหรือในที่นี้คือตัวกล้องแมชชีนวิชั่นนั่นเอง ความคมชัดของภาพที่เห็นขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นๆ ดูดซับหรือสะท้อนแสงกลับได้เท่าไหร่ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพ รูปร่าง และสีของวัตถุ เพราะฉะนั้นการเลือกแหล่งกำเนิดแสงในงานของวิชั่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ในระบบแมชชีนวิชั่นนั้นจะบันทึกภาพตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพไว้ในตัวกล้อง ซึ่งเป็นการสอนให้แมชชีน (Machine) รู้หรือจำภาพได้ ทำโดยอาศัยภาพต้นแบบ (Template) ซึ่งได้จากการคัดเลือกภาพที่ดีที่สุด โดยพิจารณาจาก ความคมชัด , ความสมบูรณ์ และความสว่างของภาพ มาเป็นตัวเปรียบเทียบกับภาพปัจจุบัน โดยแมชชีนวิชั่น ในการประมวลผลข้อมูลภาพเป็นเครื่องมือตัดสินใจ ซึ่งภาพต้นแบบจะต้องสามารถเป็นตัวแทนของภาพทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นการที่เราเลือกใช้แสงให้ถูกต้องและควบคุมแหล่งกำเนิดแสงให้คงที่ในขณะที่บันทึกภาพต้นแบบและในขณะที่เดินเครื่องการผลิตจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมคุณภาพการผลิต

วิธีการเลือกประเภทแหล่งกำเนิดแสงสำหรับวิชั่น

ในการเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของแหล่งกำเนิดแสงได้เป็น 2 แบบ คือ OPPOSED MODE และ PROXIMITY MODE ซึ่งแต่ละแบบก็จะใช้กับชิ้นงานแต่ละประเภทแต่งต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสมของชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง พื้นผิว พื้นผิวสี และ เงา ร่วมไปถึงการสะท้อนของชิ้นงาน

 

ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงสำหรับวิชั่น

ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงสำหรับวิชั่น นั้นมีอยู่หลายแบบมากในเล่มนี้ผมขอแบ่งเป็น 3 ข้อ หลักที่จะต้องใช้ในระบบวิชั่น

1.  รูปทรงและรูปร่างของแหล่งกำเนิดแสง

รูปทรงและรูปร่างของแหล่งกำเนิดแสง สำคัญ มากในระบบวิชั่น ควรเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ดูว่าเราจะตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์แบบใด ไม่ว่าจะเป็นด้านบนด้านข้างหรือด้านหลัง เพราะจะช่วยเรื่อง

–          เพิ่มความคมชัดของชิ้นงานให้มากขึ้น

–          ลดแสงสะท้านของวัตถุ

ลดการเกิดจุดสะท้อน

2.    เทคนิคการจัดแสงในระบบวิชั่น

เทคนิคการจัดแสงในระบบวิชั่น นั้นควรดูที่เป้าหมายของผลิตภัณฑ์ ของสินค้าที่จะถ่ายว่าจะดูที่ พื้นที่ รูปร่าง ขนาด หรือ เงา และเรื่องการเอียงของแหล่งกำเนิดแสง

Dark-Field : การให้แหล่งกำเนิดแสงทางด้านข้าง

 

–          เกิดแสงสะท้อนจากชิ้นงานสูงมากและพื้นผิวที่ให้แสงจะสว่างมากขึ้น

Bright –Field : การให้แหล่งกำเนิดแสงโดยตรง

–          ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสีและรูปร่างและพื้นผิวของชิ้นงานจะละเอียดขึ้น

Backlight : การให้แหล่งกำเนิดแสงทางด้านหลัง

–          ตรวจสอบโดยการใช้เงาของชิ้นงาน(เงา)และมีความคมชัดของชิ้นงานสูงมาก3.     คุณสมบัติของแหล่งกำเนิดแสงแต่ละประเภท

ปัจจัยสำคัญทำไมถึงใช้แหล่งกำเนิดแสงทั่วไปแทนแหล่งกำเนิดแสง BANNER ไม่ได้

–          ความถี่ของระบบทั่วไป 50 Hz แต่แหล่งกำเนิดแสง ของ Banner มากกว่า 1 KHz

–          ค่าความสว่างของแหล่งกำเนิดแสง BANNER มากกว่ามาก

–          อายุการใช้ของ BANNER นานกว่ามาก

–          ทนต่อสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิได้ดีกว่ารุ่นทั่วไปด้วย IP68 และ  -18 ถึง 50 องศาเซียเซล

–          มีแหล่งกำเนิดแสงให้เลือก หลายสี แดง ขาว น้ำเงิน เขียน อินฟาเรด ฯลฯ

สุดท้ายนี้ หวังว่าการเลือกใช้แหล่งกำเนิดแสงแต่ละแบบและเทคนิคที่เขียนไว้เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แด่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย ในเล่มหน้า เรามารู้จักการใช้แหล่งกำเนิดแสงแต่ละแบบใช้งานอย่างไรกันบ้าง

1 ความคิดเห็น

Comments are closed.