หากเราคิดจะใช้อุปกรณ์ป้องกันแล้ว เราควรรู้จักมัน เลือกใช้มันให้เหมาะสมและถูกวิธีเพื่อให้ได้ความปลอดภัยและประโยชน์จากมันสูงสุด เพราะถ้าเลือกใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้องเหมาะสม มันจะทำให้เราเสียเงินมากเกินไป หรือที่แย่กว่านั้นมันอาจจะกลับกลายเป็นอันตรายแก่เราก็ได้ เราจะมาเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน โดยดูจากรูปจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์แต่ละชนิดมีที่ติดตั้งที่แตกต่างกัน อุปกรณ์ที่ติดตั้งไกลจากเครื่องจักรที่สุดคือม่านแสง A เรียงมาจนถึงอุปกรณ์ที่ใกล้เครื่องจักรที่สุดคือกำแพงประตูโซลินอยล็อก H
A–Low-resolution 2-beam safety grid
เป็นม่านแสงเซฟตี้ที่เอาไว้ตรวจจับตัวคน มีจำนวนลำแสงแค่2เส้น ระยะห่างระหว่างลำแสงค่อนข้างมากประมาณ 500mmและยิงแสงได้ระยะทางไกลถึง70m มีราคาถูกเหมาะใช้ตรวจจับ
คนในพื้นที่กว้างๆ โดยติดตั้งให้สูงระดับเข่าถึงเอวเพื่อความแน่นอนว่า
B –Low-resolution 3or4-beam safety grid
มีคุณสมบัติเช่นเดี๋ยวกับแบบ2-beam แต่จะตรวจจับทั้งตัวคน มีจำนวนลำแสงแค่3-4เส้น ระยะห่างระหว่างลำแสงจะประมาณ300-400mm ขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง
C –Standard-resolution safety light screen
เป็นม่านแสงเซฟตี้ที่เอาไว้ตรวจจับมือคน มีระยะห่างระหว่างลำแสงที่30mm จำนวนลำแสงขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง ระยะยิงแสงไกล15m
D –High-resolution safety light screen
เป็นม่านแสงเซฟตี้ที่เอาไว้ตรวจจับนิ้วมือ มีระยะห่างระหว่างลำแสงที่14mm จำนวนลำแสงขึ้นอยู่กับความสูงของม่านแสง ระยะยิงแสงไกล8m จะเป็นมาตราฐานความปลอดภัยสูงสุดคือ
E –Safety Mat or laser scanเป็นม่านแสงเซฟตี้ที่สามารถกำหนดพื้นที่ได้ว่าจะให้ป้องกันบริเวณไหนบ้างโดยกำหนดผ่านsoftware
F –Two-hand control
คือ สวิทช์สั่งเครื่องจักรทำงานจำนวน2ตัว วิธีใช้คือให้พนักงานเอามือทั้งซ้ายและขวามากดที่สวิทช์ โดยมีเงื่อนไขพิเศษที่ต้องใช้เวลาในการกดพร้อมกันทั้งสองตัว และถ้าเอามือออกจากสวิทช์เครื่องจักรก็จะหยุดการทำงาน
G –Interlock hard guard
เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ด่านสุดท้ายก่อนที่คนจะเข้าใกล้เครื่องจักร โดยเป็นสวิทช์เซฟตี้ชนิดต่างๆที่ติดไว้ ที่ประตูทางเข้าบริเวณเครื่องจักรที่มีการล้อมรั้วหรือกั้นพื้นที่ เพื่อไม่ให้คนเข้าไปได้ วิธีทำงานคือ เมื่อประตูเปิด เครื่องจักรจะหยุดทำงาน โดยสวิทช์แบบนี้จะมีหลายรูปแบบ เช่น เป็นบานหมุนพับ เป็นแม่เหล็ก เป็นสลักเสียบเป็นสวิทช์หมุน หรือเป็นแบบfiber opticแล้วแต่ความสะดวกของผู้ออกแบบ กลอนล็อคไม่ให้เปิดประตูได้ จะเปิดประตูได้ก็ต่อเมื่อพนักงานตั้งใจมากดปุ่มคลายล็อค และเครื่องจักรก็จะหยุดการทำงาน เครื่องจักรจะกลับมาทำงานก็ต่อเมื่อพนักงานออกมาจากบริเวณเครื่องจักรแล้วกดปุ่มสตาร์ทเพื่อสั่งให้เครื่องจักรทำงานต่อไป
H –Rope pull
เป็นสวิทช์แบบดึง ประกอบด้วย สายเคเบิ้ลหุ้มด้วยพลาสติก เพื่อให้เวลาดึงอย่างรวดเร็วจะได้ไม่บาดมือ โดยสายเคเบิ้ลจะติดเป็นแนวนอนไปบริเวณที่สามารถดึงได้สะดวกเวลามีเหตุฉุกเฉิน มีการทำงาน3สถานะ คือ 1.โดนดึงเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน 2.ทำงานปกติ 3.สายเคเบิ้ลขาด
เพื่อความปลอดภัยสูงสุดเราควรจะออกแบบให้มีการใช้อุปกรณ์เซฟตี้หลายๆอย่างร่วมกัน ดังตัวอย่างในรูป
1.ล้อมรั้วโดยใช้ ประตูแบบล็อคถ้าประตูเปิดrobotจะหยุดทำงาน
2.พื้นที่ภายในใช้laser scan ถ้ามีคนอยู่ในพื้นที่robotจะหยุด
3.บริเวณเตรียมของก็ใช้ safety light screenเพื่อกั้นไม่ให้คนเอามือเข้าไป
A-Low-resolution 2-beam safety grid ดังตัวอย่างในภาพ อยากทราว่าจะหาซื้อกระจกส่องสะท้อนได้ที่ไหนครับ ถ้าใครพอจะแนะนำได้รบกวนช่วย ตอบด้วยครับ หรือ e-mail [email protected] ขอบคุณล่วงหน้าครับ ประวิทย์
ไม่ทราบว่าได้รับemailตอบกลับของผมแล้วรึยัง ถ้ายังขอแนะนำว่าหาได้ที่คอมโพแม็กนี้ละครับมีให้เลือก2ยี้ห้อคือbannerและdatalogic เข้าไปดูได้ที่
http://www.bannerengineering.com/en-US/products/6/Machine-Safety/99/Machine-Safety-Accessories/391/Corner-Mirrors/
Comments are closed.